การศึกษาเชิงประเมินระบบป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระดับอำเภอในภาคเหนือของประเทศไทย 2562

Main Article Content

นัฐพนธ์ เอกรักษ์รุ่งเรือง
นพพร ศรีผัด
อำนาจ เมืองแก้ว

บทคัดย่อ

ความสำคัญ:  โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable disease; NCD) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ  การจัดการการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีมาตรการในหลายด้านและอาศัยกลไกกระบวนการต่าง ๆ ในหลายระดับ หลายมิติ  การขับเคลื่อนการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคในระดับพื้นที่  จึงจำเป็นต้องมีการประเมินเพื่อทราบสถานการณ์ประสิทธิภาพกลไกและความเป็นไปของระบบ อำเภอเป็นระดับของพื้นที่เป็นยุทธศาสตร์ที่สามารถศึกษาเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในระบบองค์รวมและการพัฒนาต่อเนื่องของการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ


วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินระบบป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้านกระบวนการ (process) ระดับอำเภอในภาคเหนือ ของประเทศไทย


วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive research) ในเชิงประเมินประกอบด้วย เชิงปริมาณ (quantitative) โดยใช้กระบวนการประเมินมาตรฐาน NCD คลินิกคุณภาพ และการศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative) โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การทำกลุ่ม focus group การรับฟังนำเสนอนิเทศงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบ จากตัวแทน จำนวน 20 อำเภอ ในปี 2562  วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์คุณภาพเชิงเนื้อหาโดยแนวทาง chronic care model และงานพัฒนาระบบ


ผลการศึกษา: ระบบการควบคุมป้องกันโรค NCDs ในระดับอำเภอภาคเหนืออยู่ในระดับพื้นฐานร้อยละ 60 ระดับดีร้อยละ 35 ดีมากร้อยละ 5 ตามเกณฑ์คุณภาพ โดยองค์ประกอบด้านสารสนเทศอยู่ในระดับดีมาก ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอยู่ในระดับดี  ด้านนโยบาย ด้านการปรับระบบและกระบวนการ ด้านระบบสนับสนุนการจัดการตนเองและการจัดบริการเชื่อมโยงชุมชนอยู่ในระดับพื้นฐาน โดยเกณฑ์ NCD คลินิกคุณภาพ


สรุปและข้อเสนอแนะ: ระบบการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีการพัฒนาโดยพื้นฐานและต่อเนื่องได้โดยการใช้ข้อมูลระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ   ภาวะผู้นำ ทีม ผู้จัดการ ในการเชื่อมโยงบริการและภาคภาคีประชาชน  การเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายและการจัดการความรู้จะช่วยให้เกิดการพัฒนาร่วมกันได้ดีและอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Strategic Plan on Development Indicator for assesement Burden of Disease and Health, Thai population. Report burden of disease and health, Thai population 2009. Nonthaburi: Bureau of International Health Policy; 2012. (in Thai)

World Health Organization. Global action plan for the prevention and control of noncommunicable disease 2013-2020. Geneva: WHO; 2013.

World Health organization. Innovative care for chronic condition: building block for action. Geneva: WHO; 2002.

Guideline for Public Health Officer for Service Screening and develop skill for changing behavior and decrease risk non-communicable disease in hospital and community 2009. Bureau of Non-communicable disease, Department of Disease Control; 2009. (in Thai)

Bureau of Non-communicable Diseases, Department of Disease Control. Manual of evaluation operative NCD clinic quality. Nonthaburi : Aksorn Grphic and Design; 2010. (in Thai)

Bureau of Non-communicable Diseases, Department of Disease Control. Manual of behavioral change in quality NCD clinic. Bangkok:Chum Noom Shakorn Karnkaset of Thailand Printing; 2015. (In Thai).

Department of Disease Control, Ministry of public health. Guideline for Health Behavioral changing for reduce Cardiovascular Risk. Nonthaburi: National Office of Buddhism Printing house; 2010.

National Health Security Office (NHSO). A guideline for managing NCD clinic Quality (Diabetes and Hypertension) in Health Promotion Subdistrict Hospital; 2015.

Sriwanitchakorn S. Archanuphab S. Managing care system for Chronic diabetes and hypertension patients. Nonthaburi: Sahamitr printing and publishing; 2012

Archanuphab S. Tantayotai V. Sriwanitchakorn S. Rojanasupac N. Yana T. Manual for primary care : managing intergral diabetes disease. Bangkok: Holistic Publishing; 2009.