ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: ศึกษาเปรียบเทียบหมู่บ้านที่ปลอดโรคกับหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรค ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา จังหวัดเชียงราย พบอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดในปี พ.ศ. 2561 พบจำนวนผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 2,933 ราย คิดเป็นอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 228.23 ต่อแสนประชากร อัตราตายคิดเป็น 0.08 ต่อแสนประชากร หมู่บ้านในเขตตำบลป่าอ้อดอนชัยมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2563 อัตราป่วย 82.81, 871.06 และ 546.61 ต่อประชากรแสนคน การดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของประชนในชุมชนจึงมีความสำคัญเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาดังกล่าว
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านปลอดโรค กับหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคในตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
วิธีการศึกษา การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เลือกพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจง เลือกประชากรตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบง่ายจากหมู่บ้านที่ไม่มีผู้ป่วย 173 คน และหมู่บ้านที่มีผู้ป่วย 102 คน ประชากรกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตัวแทนประชาชนในหมู่บ้านและ ภาคีเครือข่ายชุมชน ตำบลป่าอ้อดอนชัย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแนวคำถามกึ่งโครงสร้าง จัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มย่อยและสัมภาษณ์เชิงลึก การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent t-test) และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์แก่นโครงเรื่อง (Thematic analysis) และสอบทานแบบสามเส้า (Triangulation)
ผลการศึกษา จากการศึกษาในประชากร 275 คน พบว่าหมู่บ้านปลอดโรคมีคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกน้อยกว่าหมู่บ้านที่มีการระบาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2.03 v.s 2.23, p < 0.05) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้แก่ การได้รับการสนับสนุน หรือกระตุ้นเตือนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. บุคคลในครอบครัวหรือชุมชน เป็นปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับน้อยและระดับปานกลางต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่บ้านปลอดโรค และหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกตามลำดับ (r= -0.275, p<0.001 v.s. r = -0.522, p<0.001) ความเพียงพอของทรัพยากร และทักษะในการควบคุมสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยเอื้อที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่บ้านปลอดโรค แต่มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและน้อยตามลำดับต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่บ้านที่มีการระบาดโรคไข้เลือดออก (r=0.483, p<0.001 v.s. r=0.232, p=0.019)
สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย 1) ปัจจัยเสริมเกี่ยวกับการได้รับการสนับสนุนหรือกระตุ้นเตือนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. บุคคลในครอบครัวหรือชุมชน มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งในหมู่บ้านปลอดโรคและหมู่บ้านที่มีการระบาด 2) ปัจจัยเอื้อ เกี่ยวกับความเพียงพอของทรัพยากร และทักษะในการควบคุมสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่บ้านที่มีการระบาดโรคไข้เลือดออกเท่านั้น จึงควรจัดทำแนวทางการปฏิบัติควบคุมป้องกันโรคโดยการมีส่วนร่วม ประชาชน แกนนำสุขภาพชุมชน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมดำเนินการจัดการประชุมแบบมีส่วนร่วม เพื่อจัดทำแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน (SOPs) ในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนเกิดประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม รวมถึงพัฒนาช่องทางการรับแจ้งข่าวการเกิดโรคไข้เลือดออกอย่างทั่วถึงทุกระดับ
Article Details
References
Bureau of Epidemiology DoDC, Ministry of Public Health,. Epidemiological Surveillance Report. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2013.
Bureau of Epidemiology DoDC, Ministry of Public Health,. Epidemiological Surveillance Report. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2014.
Bureau of Epidemiology DoDC, Ministry of Public Health,. Epidemiological Surveillance Report. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2015.
Bureau of Epidemiology DoDC, Ministry of Public Health,. Epidemiological Surveillance Report. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2016.
Bureau of Epidemiology DoDC, Ministry of Public Health,. Epidemiological Surveillance Report. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2017.
Wongwattanapaiboon S. Department of Disease Control weekly disease forecast dengue. Nonthaburi: Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2007.
Bumrungrat T, Leethongdissakul S. The community empowerment model for dengue hemorrhagic fever prevention in Sam Suan Sub – District, Ban Thaen District, Chaiyaphum. Journal of MCU Nakhondhat. 2020;7(7):132-43.
Monkhai S, Jaiarelee A, Tanpichai P. Factors related with the participation of community in the prevention and controlling of dengue haemorrhagic fever in Ban Wangsai, Tambon Wangnumkhiaw, Ampeo Kampaengsaen, Changwat Nakhonpathom. Veridian E-Journal. 2013;6(3):461-77.
Huaysai P, Sukserm T, Khunluek K, The Participation of the population of Huai Phuang District, Kalasin Province in the prevention and control of dengue hemorrhagic fever. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University. 2016;3(1):64-81.
Intasri C, Sarawong P, Palitnonkert A, Eamjoy D, Factor related to dengue hemorrhagic fever prevention of people in Bankongbangna, Srisajorakeanoi, Bang Saotong district, Samutprakan province, Thailand. Huachiew Chalermprakiet Science and Technology Journal. 2017;3(1):43-51.
Nunun C. Factors influencing deque hemorrhagic fever (DHF) preventive behavior of people in Lao Khwan district, Kanchanaburi province. Bangkok: Silpakorn University; 2009.
Labkosa T, Pansila W, Sripugdee S, The prevention model of dengue hemorrhagic fever by the participation of community health leaders, Muangboa Sub-District, Chumphonburi District, Surin Province. Thaksin University J. 2016;19(1):44-53.
Khuneepong A, Wutthi S. A comparative study on knowledge, attitude, social support and preventive behavior on dengue hemorrhagic fever among the people living in the epidemic and non-epidemic villages in Makham District, Chanthaburi Province. Disease Control J. 2018;44(1):102-11.