ความรู้และเจตคติต่อการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา ในประเทศไทยมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดของเพศหญิง ปัจจุบันการผ่าตัดเต้านมถือเป็นการรักษามาตรฐาน และพบว่ามีการรักษาด้วยการตัดเต้านมทั้งหมด (total mastectomy) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเนื่องจากการสร้างเต้านมขึ้นใหม่หลังการตัดเต้านม (breast reconstruction after mastectomy) เข้ามามีบทบาท ในการช่วยรักษาคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีผู้ป่วยได้รับผ่าตัดมะเร็งเต้านมประมาณ 200 รายต่อปี แต่อัตราการสร้างเต้านมขึ้นใหม่มีเพียงร้อยละ 0.5 ในขณะที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมีอัตราการสร้างเต้านมขึ้นใหม่ถึงร้อยละ 13.45 จึงสนใจศึกษาถึงสาเหตุที่อาจทำให้โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีอัตราการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมต่ำ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้และเจตคติที่มีผลต่ออัตราการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
วิธีการศึกษา การวิจัยเชิงพรรณนา รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบตัดเต้านมทั้งหมด (total mastectomy) ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ตั้งแต่ปี 2560 – 2563 และมารับการติดตามต่อเนื่องที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ถึง มกราคม 2564 จากเวชระเบียน และแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ และเจตคติเกี่ยวกับการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้งหมด 30 ราย ทุกรายเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.77 ± 8.17 ปี ผู้ป่วยมีข้อห้ามในการเสริมสร้างเต้านม คือ เป็น inflammatory breast cancer 2 ราย (ร้อยละ 6.67) ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมที่ทำพร้อมกับการผ่าตัดเต้านม (relative contraindication for Immediate Breast Reconstruction) ได้แก่ post-operative radiotherapy 5 ราย (ร้อยละ 16.67) ผู้ป่วย 23 ราย (ร้อยละ 59) ไม่มีข้อห้ามในการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังการตัดเต้านม แต่ไม่พบผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังตัดเต้านม จากแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมพบว่าผู้ป่วยตอบไม่ทราบในข้อคำถามส่วนใหญ่ ผู้ป่วยทุกรายตอบไม่ทราบความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และในข้อคำถามเรื่องเจตคติเกี่ยวกับการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบไม่ถูกต้อง มีผู้ป่วย 5 ราย (ร้อยละ 16.67) ต้องการเสริมสร้างเต้านมและลานนม
สรุปผลและข้อเสนอแนะ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมบ้าง แต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างเต้านมหลังจากการผ่าตัดมะเร็งเต้านม ซึ่งอาจมีผลต่ออัตราการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังจากการผ่าตัดมะเร็งเต้านมได้ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการดูแลและการให้ข้อมูลก่อนการผ่าตัดและทางเลือกเพื่อการวางแผนการรักษาร่วมกันกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Article Details
References
Imsamran W, Chaiwerawattana A, Wiangnon S, Pongnikorn D, Suwanrungrung K, Sangrajrang S, et al. Cancer in Thailand Volume VIII 2010–2012. Bangkok: National Cancer Institute, Ministry of Public Health Thailand;2015.
Chaiwerawatana A. Breast ICD-10 C50. In: Khuhaprema T, Srivatakul P, Sriplung H, Sumitsawan Y, Attasara P, editors. Cancer in Thailand Vol.IV, 1998-2000. Bangkok:National Cancer Institute, Ministry of Public Health Thailand;2007:p.48-50.
Jatoi I, Proschan MA. Randomized trials of breast-conserving therapy versus mastectomy for primary breast cancer: a pooled analysis of updated results. Am J Clin Oncol. 2005;28(3):289-94.
McGuire KP, Santillan AA, Kaur P, Meade T, Parbhoo J, Mathias M, et al. Are mastectomies on the rise? A 13-year trend analysis of the selection of mastectomy versus breast conservation therapy in 5865 patients. Ann Surg Oncol 2009;16(10):2682-90
Suwajo P, Haetanurak S. Breast reconstruction for mastectomy. Chula Med J 2017;61(6):715-30.
Al-Ghazal SK, Fallowfield L, Blamey RW. Comparison of psychological aspects and patient satisfaction following breast conserving surgery, simple mastectomy and breast reconstruction. Eur J Cancer 2000;36(15):1938-43.
Christian CK, Niland J, Edge SB, Ottesen RA, Hughes ME, Theriault R, et al. A multi-institutional analysis of the socioeconomic determinants of breast reconstruction: a study of the National Comprehensive Cancer Network. Ann Surg 2006;243(2):241-9
Fisher B, Anderson S, Bryant J, Margolese RG, Deutsch M, Fisher ER, et al. Twenty-year follow-up of a randomized trial comparing total mastectomy, lumpectomy, and lumpectomy plus irradiation for the treatment of invasive breast cancer. N Engl J Med 2002;347(16):1233-41.
American Society of Plastic Surgeons. 2015 Plastic surgery statistics report [Internet]. 2015 [cited 2016 Aug 12]. Available from: https:// www.plasticsurgery.org/news/plastic-surgery- statistics
Katipamula R, Degnim AC, Hoskin T, Boughey JC, Loprinzi C, Grant CS, et al. Trends in mastectomy rates at the Mayo Clinic Rochester: effect of surgical year and preoperative magnetic resonance imaging. J Clin Oncol 2009;27(25):4082-8.
Wilkins EG, Cederna PS, Lowery JC, Davis JA, Kim HM, Roth RS, et al. Prospective analysis of psychosocial outcomes in breast reconstruction: one-year postoperative results from the Michigan Breast Reconstruction Outcome Study. Plast Reconstr Surg 2000;106(5):1014-25.
Zhang P, Li CZ, Wu CT, Jiao GM, Yan F, Zhu HC, et al. Comparison of immediate breast reconstruction after mastectomy and mastectomy alone for breast cancer: a meta-analysis. Eur J Surg Oncol. 2017 ;43(2):285-93.
Kronowitz SJ. Delayed-immediate breast reconstruction: technical and timing considerations. Plast Reconstr Surg 2010;125(2):463-74.
American Society of Plastic Surgeons. 2016 Plastic Surgery Statistics Report. [Internet]. 2015 [cited 2016 Aug 12]. Available from: https://www.plasticsurgery.org/documents/News/Statistics/2016/reconstructive-procedures-ethnicity-2016.pdf
Phutivut V,Chiaviriyabunya I. Survival rate of the five most common cancers in 2010at Udothani Cancer hospital Thailand. Thai cancer J 2018;44(1):79-81.
Breast cancer monograph in the year 2014-2018. Bangkok: Breast cancer group, Siriraj Cancer Center and Division of Head neck and Breast Surgery, Department of surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University; 2020.