ความชุกของการรังแกกันและปัจจัยด้านครอบครัวที่เกี่ยวข้องในนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษา จังหวัดน่าน

Main Article Content

พงษ์สุดา ป้องสีดา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา การรังแกกันเป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางจิตใจและสังคม
ทั้งต่อตัวผู้รังแกและผู้ถูกรังแก หากเกิดการรังแกกันต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต
ที่รุนแรง เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล กลัวสังคม ติดสารเสพติด แยกตัวจากสังคม หรือฆ่าตัวตาย


วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของการรังแกกันในโรงเรียนและปัจจัยด้านครอบครัวที่เกี่ยวข้องในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษา ในจังหวัดน่าน


วิธีการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยการเกิดการรังแกกันในโรงเรียน โดยเก็บข้อมูลเด็กอายุ 10-18 ปี ในจังหวัดน่าน ที่ยินยอมตอบแบบสอบถาม ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ chi-square test และ multivariate logistic regression


ผลการศึกษา จำนวนเด็กนักเรียนที่มาตอบแบบสอบถาม มีทั้งสิ้น 386 คน เคยมีประสบการณ์การรังแกกัน ร้อยละ 79.0 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 56.0 อยู่ในช่วงอายุ< 12 ปี ร้อยละ 70.7 เด็กที่มีประสบการณ์การรังแกกัน ร้อยละ 48.2 จะเคยเห็นบิดา มารดาทะเลาะ ด่าทอ หรือใช้คำหยาบคายต่อกัน ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่ไม่เคยมีประสบการณ์รังแกกันเคยเห็นการทะเลาะกันเพียงร้อยละ 33.3 (p=0.017) ลักษณะการรังแกกันมีเด็กเป็นผู้กระทำร้อยละ 4.3 ถูกกระทำร้อยละ 55.1 เป็นทั้งผู้กระทำ-ผู้ถูกกระทำร้อยละ 40.6 การรังแกกันครั้งแรกส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงประถมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 44.3) สาเหตุที่ถูกรังแกส่วนใหญ่เพราะมีร่างกายที่อ่อนแอกว่า (ร้อยละ 35.4) มักจะเป็นการรังแกกันทางวาจา (ร้อยละ 72.5) บุคคลที่รังแกมักจะเป็นเพื่อนในห้องเรียนร้อยละ 86.6 ช่วงเวลาที่โดนรังแกมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาพัก ร้อยละ 60.7 ผลจากการรังแกกัน ไม่ส่งผลใดๆ ร้อยละ 68.2 แต่ทำให้เกิดความเครียด ร้อยละ 57.4  บุคคลที่ต้องการให้ช่วยเหลือมากที่สุด คือ คุณครู (ร้อยละ 63.3) จากการวิเคราะห์พหุหลายระดับพบว่าปัจจัยด้านครอบครัว ไม่มีผลต่อการรังแกกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะเป็น สถานะของครอบครัว ประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวทั้งเคยเห็นบิดามารดาทะเลาะ ด่าทอหรือใช้คำหยาบคายต่อกัน การเคยเห็นบิดามารดาตบตี ทำร้ายร่างกายหรือขว้างปาสิ่งของใส่กัน การถูกทำโทษจนฝังใจ และการเลี้ยงดู


สรุปผลและข้อเสนอแนะ ความชุกของการรังแกกันในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาในจังหวัดน่าน คิดเป็นร้อยละ79 ปัจจัยด้านครอบครัวที่ศึกษาไม่พบความสัมพันธ์กับการรังแกกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการศึกษานี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องควรตระหนัก และให้ความสำคัญกับปัญหาการรังแกกันในโรงเรียน เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในอนาคตต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Gladden RM, Vivolo-Kantor AM, Hamburger ME, Lumpkin CD. Bullying surveillance among youths: Uniform definitions for public health and recommended data elements, Version 1.0. Atlanta, GA: National Center for Injury Prevention and Control, Centers for Disease Control and Prevention and U.S. Department of Education; 2014.

Panyawong W. Prevention and response of bullying in school. J Ment Health Thai 2019;27(2):133-44.

Radliff KM, Wang C, Swearer SM. Bullying and peer victimization: an examination of cognitive and psychosocial constructs. J Interpers Violence 2016;31(11):1983-2005.

Evan CBR, Fraser MW, Cotter KL. The effectiveness of school-based bullying prevention programs: a systematic review. Aggression and Violent Behavior.2014;19(5):532-44.

Kaltiala-Heino R, Rimpelä M, Marttunen M, Rimpelä A, Rantanen P. Bullying, depression, and suicidal ideation in Finnish adolescents: school survey. BMJ 1999;319(7206):348-51.

Ttofi MM, Farrington DP. Effectiveness of school-based programs to reduce bullying: a systemic and meta-analytic review. Journal of Experimental Criminology 2011;7(1):27-56.

Ttofi MM, Farrington DP. Risk and protective factors, longitudinal research, and bullying prevention. New Dir Youth Dev 2012:133;85-98.

National Center for Educational Statistics. Student reports of bullying: results from the 2017 school crime supplement to the national victimization survey [internet]. US Department of Education; 2019 [updated 2019 July; cited 2021 Apr 24]. Available from https://nces.ed.gov/pubs2019/2019054.pdf

Mental health status of adolescents in south-east Asia: evidence for action [internet]. World health Organization; 2017 [cited 2018 Apr 24]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/254982/9789290225737-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Sakarinkhul C, Wacharasindhu A. Prevalence of bullying and associated psychosocial factors among lower secondary school students in Muang, Chiangmai. J Psychiatr Assoc Thailand 2014;59:221-30.

Glew G, Rivara F, Feudtner C. Bullying: children hurting children. Pediatr Rev 2000;21(6):183-9

Puranachaikere T, Punyapas S, Kaewpornsawan T, Coping strategies of grade 4-6 primary school

students in response to being bullied. J Psychiatr Assoc Thailand 2015; 60(4): 275-86.