การดูแลสุขภาพตนเองของพระภิกษุสามเณรในตำบลศรีเมืองชุมอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

พนาเวศ อุปรี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : จากสถิติการเจ็บป่วยของพระภิกษุสามเณรในตำบลศรีเมืองชุม  พบว่าเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น โดยสาเหตุหนึ่งที่เกี่ยวข้องอาจเกิดจากการดูแลสุขภาพตนเองที่ไม่ถูกต้อง


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระภิกษุสามเณรและความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระภิกษุสามเณรในตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย


วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือพระภิกษุสามเณรทุกรูปที่พักอาศัยในตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน 2563 จำนวน 38 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวัด คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง แบ่งเป็น 4 ด้านคือ ปัจจัยส่วนบุคคลจำนวน 8 ข้อ  ด้านความรู้ จำนวน 17 ข้อ ด้านทัศนคติ จำนวน 10 ข้อ และด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสถิติ Chi-Square, Fisher Exact test, t-test, F-test  กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


สรุปและข้อเสนอแนะ : พระภิกษุสามเณรมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับน้อย   และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีทัศนคติในระดับมากที่สุดต่อการดูแลสุขภาพตนเอง จึงควรมีการส่งเสริมให้ความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม  เพื่อลดปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Apiwatthano P. An analytic study of Buddhist monks' health care behaviors in Phrae Province. [Master thesis]. Phrae: Mahachulalongkornrajavidyalaya University; 2011. (in Thai)

Annual report, Department of Health2017. Nonthaburi: Department of Health, Ministry of Public Health;2017. (in Thai)

Lutthapinun N. Factors affecting eating behaviors and physical activity in Thai Buddhist monks [Master Thesis]. Bangkok: Department of Sport Science, Chulalongkorn University; 2017. (in Thai)

Phradhammakittiwong (Thongdee Suratejo). A dictionary for the study of Buddhism. Pali 9 Graduates, Royal Graduate. Bangkok: Choraka; 2005. ( in Thai)

Phitakpupha S. Factors associated with health behaviors in food consumption of monks in health promoting temples and non-health promoting temples in Trang Province [Master thesis]. Trang: Sirindhorn College of Public Health; 2015. (in Thai)

The Ministry of Public Health concerned about the health of Thai Monks, speeding up the development of volunteers to promote health at the temple [Internet]. Office of Thai Health Promotion Foundation; 2020. [cited 2020 Sep 20]. Available from: http://www.thaihealth.or.th/Content/40846-. (in Thai)

Mheeaium P. Factors effect with health behavior of monks in Takhli District, Nakhonsawan Province. [Master thesis]. Graduate School, Naresuan University; 2020. (in Thai)

Aruno S. The Development of holistic care of the Sangha in Khonkaen Province area with focus on network’s participation. Bangkok: Institute of Buddhist Resarch, Mahachulalongkorntajavidyalaya University; 2014 (in Thai)

Prachanban P. Advanced statistics for research and evaluation. Phitsanulok: Naresuan University; 2012. (in Thai)

Boutkhamuan S. Self- health care of monks in Dusit District. Bangkok Metropolis [Mastres thesis]. Thammasat University; 2016. (in Thai)

Houngmitr C. Model development to promote network health behaviors of monks in Nakhon Sawan Municipality. Research report. Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2017. (in Thai)

Suddhivajano S. The health behavior of monks in Phang Khon District, Sakon Nakhon Province. [Master thesis]. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University; 2013. (in Thai)

Wuttisaksakul K. Factors related to health behaviors of monks in Fang District, Chiangmai Province. Journal of the Nursing Association of Thailand, Northern Branch; 2018: 24(1): 71-82. (in Thai)