การศึกษาผลตรวจ Caloric test ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาทการทรงตัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: อาการเวียนศีรษะเป็นอาการสำคัญที่พบบ่อยทางคลินิกโสตประสาทวิทยานำมาสู่ความเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุและความพิการได้ การวินิจฉัยผู้ป่วยเวียนศีรษะที่มีปัญหาระบบประสาทการทรงตัวนอกจากอาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว อาจต้องอาศัยการทดสอบทางระบบการทรงตัว โดยทั่วไปแล้วมีการทดสอบหลายอย่างเพื่อช่วยวินิจฉัยโรค แต่ยังไม่ทราบว่าผู้ป่วยมีปัญหาจากระบบประสาทการทรงตัวส่วนปลายหรือส่วนกลางซึ่งอาจส่งผลให้การวินิจฉัยโรคคลุมเครือ การทดสอบ Caloric test อาจช่วยให้แพทย์แยกพยาธิสภาพระหว่างผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาทการทรงตัวส่วนปลายกับส่วนกลาง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลตรวจ Caloric test ในผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบการทรงตัว ในการแยกพยาธิสภาพระหว่างผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาทการทรงตัวส่วนปลายกับส่วนกลาง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษารูปแบบ Prospective descriptive ที่คลินิกตรวจการทรงตัว แผนกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะและได้รับการทดสอบ Caloric test ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนสิงหาคม 2563 รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยและผลการทดสอบ นำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่เข้าสู่การศึกษา 40 ราย ทุกรายพบปัญหาระบบประสาทการทรงตัวส่วนปลาย ผลตรวจ Caloric test ในผู้ป่วยส่วนใหญ่พบปกติ โดย Canal paresis (CP) พบปกติร้อยละ 67.5 Directional preponderance (DP) พบปกติ ร้อยละ 90 และ Fixation index (FI ) พบปกติร้อยละ 100
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผู้ป่วยทุกรายมีปัญหาระบบประสาทการทรงตัวส่วนปลาย และส่วนใหญ่มีผลตรวจ caloric test ปกติ จากการศึกษานี้จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่า Caloric test ช่วยแยกพยาธิสภาพระหว่างผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาทการทรงตัวส่วนปลายกับส่วนกลางได้ แต่ควรใช้ผลตรวจ Caloric test ร่วมกับการทดสอบอื่นในการประเมินผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาทการทรงตัวส่วนปลายเพื่อเพิ่มความถูกต้องและความไวในการระบุตำแหน่งพยาธิสภาพของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน
Article Details
References
Agrawal Y, Ward BK, Minor LB. Vestibular dysfunction: prevalence, impact and need for targeted treatment. J Vestib Res. 2013;23(3):113-7.
Neuhauser HK. Epidemiology of vertigo. Curr Opin Neurol. 2007;20(1):40-6.
Gopinath B, McMahon CM, Rochtchina E, Mitchell P. Dizziness and vertigo in an older population: the Blue Mountains prospective cross-sectional study. Clin Otolaryngol. 2009;34(6):552-6
Curthoys IS, MacDougall HG, McGarvie LA, Weber KP, Szmulewicz D, Manzari L, et al. The video head impulse test (vHIT). In: Jacobson GP, Shepard NT, editors. Balance Function Assessment and Management. 2nd ed. San Diego,CA: Plural Publishing (2014). p. 391–430.
Ji L, Zhai S. Aging and the peripheral vestibular system. J Otol. 2018;13(4):138-40.
Bronstein AM, Golding JF, Gresty MA, Mandalà M, Nuti D, Shetye A, Silove Y. The social impact of dizziness in London and Siena. J Neurol. 2010 ;257(2):183-90.
Lee A, Jones G, Corcoran J, Premachandra P, Morrison GA. A UK hospital based multidisciplinary balance clinic run by allied health professionals: first year results. J Laryngol Otol. 2011;125(7):661-7.
Katz J, Medwetsky L, Burkard R, Hood L. Handbook of clinical audiology. 6th ed. United States of America: Lippincott Williams & Wilkins; 2009.
Park P, Park JH, Kim JS, Koo JW. Role of video-head impulse test in lateralization of vestibulopathy: comparative study with caloric test. Auris, nasus, larynx. 2017;44(6):648-54.
Cunha LC, Felipe L, Carvalho SA, Labanca L, Tavares MC, Gonçalves DU. Validity of the monothermal caloric testing when compared to bithermal stimulation. Pro Fono. 2010 ;22(1):67-70.
Korres SG, Balatsouras DG, Ferekidis E. Electronystagmographic findings in benign paroxysmal positional vertigo. Ann Otol Rhinol Laryngol. 2004 ;113(4):313-8.
Fukushima M, Oya R, Nozaki K, Eguchi H, Akahani S, Inohara H, et al.
Vertical head impulse and caloric are complementary but react opposite to Meniere's disease hydrops. Laryngoscope. 2019 ;129(7):1660-6.