การพัฒนาและประเมินรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยโรควัณโรคปอดที่มีผลตรวจพบเชื้อวัณโรค และผู้สัมผัสร่วมบ้านในกลุ่มแรงงานต่างด้าว พื้นที่จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา
องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรคและโรควัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง ซึ่งพื้นที่ชายแดนภาคเหนือตอนบน คือ จังหวัดเชียงราย พบผู้ป่วยโรควัณโรครายใหม่คิดเป็นร้อยละสูงกว่าระดับของประเทศ ดังนั้นผู้ป่วยและผู้สัมผัสร่วมบ้านจึงเป็นกลุ่มประชากรที่สำคัญที่ควรให้ความรู้และติดตามดูแลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษา พัฒนา และประเมินรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยโรควัณโรคปอดที่มีผลตรวจพบ
เชื้อวัณโรค และผู้สัมผัสร่วมบ้านในกลุ่มแรงงานต่างด้าวพื้นที่จังหวัดเชียงราย
ระเบียบวิธีวิจัย
การศึกษานี้ดำเนินการในขอบเขตของการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ป่วยด้วยโรควัณโรคปอดที่มีผลพบเชื้อวัณโรค และผู้สัมผัสร่วมบ้านที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 45 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างจากการวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป G*power version 3.1 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันของผู้ป่วยโรควัณโรคปอดที่มีผลตรวจพบเชื้อวัณโรคและผู้สัมผัสร่วมบ้านตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพ ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และใช้สถิติอนุมานทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระ (Pair t-test) ในการประเมินการรับรู้ตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง และเข้าสู่การประยุกต์แผนให้สุขศึกษา
ผลการวิจัย
พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 52.2 สัญชาติพม่าร้อยละ 61.9 เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ร้อยละ 27.2 ผลการประเมินการรับรู้ตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรควัณโรคปอด แบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกัน และการรับรู้อุปสรรคในการป้องกัน ผลลัพธ์ของการประเมินในหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้นอยู่ในระดับการรับรู้ที่ต้องปรับปรุง (= 1.86, SD = 0.60) และพฤติกรรมการป้องกันของผู้ป่วยโรควัณโรคปอดและผู้สัมผัสร่วมบ้านตามแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีผลลัพธ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับพฤติกรรมที่ต้องปรับปรุง (= 2.39, SD = 0.67) ผลการเปรียบเทียบของรูปแบบการให้สุขศึกษาในการแก้ปัญหาพฤติกรรมในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 ราย พบว่า การรับรู้ตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีเกณฑ์พัฒนาจากในระดับการรับรู้ที่ต้องปรับปรุง (= 1.87, SD = 0.61) เป็นระดับพอใช้ (= 2.90, SD = 1.52) และการประเมินทางด้านพฤติกรรมการป้องกัน พบว่าภายหลังการใช้สุขศึกษาได้ผลลัพธ์ระดับพฤติกรรมที่ดีกว่า (= 3.74, SD = 0.44) ก่อนให้การศึกษา
สรุปและอภิปรายผล
ระดับการรับรู้ตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวม พบว่าหลังจากการให้สุขศึกษากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับการรับรู้ในภาพรวมดีกว่าก่อนการให้สุขศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกันกับพฤติกรรมการป้องกันที่มีภาพรวมที่ดีขึ้นหลังจากการให้สุขศึกษา
คำสำคัญ วัณโรคปอด แรงงานต่างด้าว ผู้สัมผัสร่วมบ้าน แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
Article Details
References
2. National Tuberculosis Information Program [NTIP]. Tuberculosis Cases Report. https://tbcmthailand.ddc.moph.go.th/uiform/login.aspx (accessed 5 August 2020).
3. Metchanun Nawaphan. Scoping Review for Understanding Tuberculosis Situation in Migrant Labors in Thailand. http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4461?locale-attribute=th (accessed 8 August 2020).
4. Khuanjai Montaisong. The Factors Predicting Tuberculosis Preventive Behaviors Among The Tuberculosis Contacts In The Bangkok Area And Perimeter. J Royal Thai Army Nurses 2017; 18(2): 306-314. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101708
5. Khuanjai Montaisong. The Factors Predicting Tuberculosis Preventive Behaviors Among The Tuberculosis Contacts In The Bangkok Area And Perimeter. J Royal Thai Army Nurses 2017; 18(2): 306-314. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101708
6. Provincial Labor Office Chiang Rai. Chiang Rai Labor Statistics. https://chiangrai.mol.go.th/labor_statistics (accessed 5 August 2020).
7. Sarinee Ladasawan, Supon Sukpesn. Prevalence of Tuberculosis among Children Living with Pulmonary Tuberculosis Patients. Thai Journal of Tuberculosis Chest Diseases and Critical Care 2008; 29(2): 115-123.
8. Department of Disease Control. Guidelines for Suspected Tuberculosis Outbreaks Investigation, 2nd ed. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand; 2013.
9.Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. Statistical power analyses using G*Power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behavior research methods. https://doi.org/10.3758/BRM.41.4.1149
10. Pongsri Pulsarp, Ratchanee Krongrawa, Pirom Leesuwan, Bunthawan, Hirunkroh. DHF Preventive Behavior Development of Village Health Volunteers by Authentic Work Participatory at Thapa District Health Promotion Hospital,Ban pong district, Ratchaburi Province. NJPH 2015; 25(2): 206-218. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/39536
11. Piromrat Kiatthanabodee, Wiroj Waiwanichkij, Jaded Deeying. Prevention and Control Behaviors on Dengue Hemorrhagic Fever of Party Health Network in Muang District, Buriram Province. Journal of Research and Development BRU 2015; 10(2): 84-91. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/129304/97212
12. Yada Reamrimmadun, Sirinun Kumsri. Factors Related to Health Promotion Behavior by Foreign Workers. HCU Journal 2018; 21(42): 79-91. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/download/146731/108160/
13. Nisaon Phihussot, Naphak-orn Punyapapassorn, Phatre Friestad. Health Promotion Guidelines for Alienate Workers who are allowed as a Special Case of Stay in Kingdom of Thailand. Journal of the Association of Researchers 2019; 24(3): 167-189. http://www.ar.or.th/ImageData/Magazine/20055/DL_10534.pdf?t=637358581408508581