ความแม่นยำของระบบการคัดกรองผู้ป่วย ด้วยดัชนีความรุนแรงอุบัติเหตุและฉุกเฉินเทียบกับเกณฑ์คัดแยกและมาตรความเฉียบพลันแคนาดา ในผู้มารับบริการที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

สุวสันต์ บุญยะรัตน์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีหลักเกณฑ์การตรวจคัดแยกผู้ป่วยเป็น 5 ระดับเพื่อให้แบ่งระดับความเร่งด่วนในการให้การรักษาผู้ป่วยตามแบบ Emergency Severity Index (ESI) ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการคัดแยกผู้ป่วย ส่วนเกณฑ์คัดแยกและมาตรความเฉียบพลันแคนาดา เป็นอีกเกณฑ์ที่มีการใช้ในการคัดแยกผู้ป่วยแต่เป็นเกณฑ์ที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำการคัดแยก การศึกษานี้จึงทำการเปรียบเทียบหาความแม่นยำของในการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์


วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความความแม่นยำของระบบการคัดกรองผู้ป่วยที่มาใช้บริการห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยใช้ Emergency Severity Index (ESI) เทียบกับเกณฑ์คัดแยกและมาตรความเฉียบพลันแคนาดา (Canadian Triage and Acuity Scale; CTAS)


วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยรวบรวมผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ในช่วงเวลา 8.00-16.00 น. ในช่วงเดือน สิงหาคม 2561-ธันวาคม 2561 ซึ่งผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษามีทั้งสิ้น 406 ราย


ผลการศึกษา พบว่ามีความแม่นยำของ Emergency Severity Index (ESI) เมื่อเทียบกับเกณฑ์คัดแยกและมาตรความเฉียบพลันแคนาดา (CTAS)  อยู่ในระดับสูง   rs = 0.7965 (p-value = 0.0000) โดย ESI ระดับความเร่งด่วนที่ I มีความแม่นยำมากที่สุด rs = 0.8250 (p-value = 0.0000) และ ESI ระดับความเร่งด่วนที่ III มีความแม่นยำน้อยที่สุด rs = 0.0006  (p-value = 0.9912)


สรุปผลและข้อเสนอแนะ  Emergency Severity Index (ESI) มีความแม่นยำสอดคล้องกับเกณฑ์คัดแยกและมาตรความเฉียบพลันแคนาดา (CTAS)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่า Emergency Severity Index (ESI) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการคัดแยกผู้ป่วยแผนกฉุกเฉินเป็น 5 ระดับความเร่งด่วนได้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Fernandes CM, Tanabe P, Gilboy N, Johnson LA, McNair RS, Rosenau AM, et al. Five-level triage: a report from the ACEP/ENA Five-level Triage Task Force. J Emerg Nurs. 2005;31(1):39-50.

Travers DA, Waller AE, Bowling JM, Flowers D, Tintinalli J. Five-level triage system more effective than three-level in tertiary emergency department. J Emerg Nurs. 2002;28(5):395-400.

Christ M, Grossmann F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern triage in the emergency department. Dtsch Arztebl Int. 2010;107(50):892-8.

Warren DW, Jarvis A, LeBlanc L, Gravel J. Revisions to the Canadian Triage and Acuity Scale paediatric guidelines (PaedCTAS). CJEM. 2008;10(3):224-43.

Alquraini M, Awad E, Hijazi R.Reliability of Canadian Emergency Department Triage and Acuity Scale (CTAS) in Saudi Arabia. Int J Emerg Med. 2015;8(1):80.

Tanabe P, Gimbel R, Yarnold PR, Kyriacou DN, Adams JG. Reliability and validity of scores on The Emergency Severity Index version 3. Acad Emerg Med. 2004;11(1):59-65.

Conroy S. Emergency room geriatric assessment--urgent, important or both? Age Ageing. 2008;37(6):612-3.

Department of Medical Service. MOPH ED Triage. Bangkok: The Institute; 2018.