รูปแบบ CAVE ในกรณีปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่า ณ วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ทศเทพ บุญทอง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561 เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณภัยครั้งยิ่งใหญ่ของจังหวัดเชียงราย เมื่อผู้ฝึกสอนและนักฟุตบอลเยาวชนทีมหมูป่า อะคาเดมี 13 คน พลัดหลงใน วนอุทยานถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย  มีการดำเนินการช่วยเหลือโดยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน รวมระยะเวลาการปฏิบัติงาน 17 วัน โดยมีอดีตหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ หรือหน่วยซีล (SEAL) เสียชีวิตขณะปฏิบัติภารกิจ 1 ราย ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีการพัฒนาแนวทางในการเตรียมรับมือภัยพิบัติด้านการแพทย์และสาธารณสุข


วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ และกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในกรณีปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่า และพัฒนาแนวทางในการเตรียมรับมือภัยพิบัติด้านการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดเชียงราย


วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา (Research and Development : R&D) ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยการศึกษาสถานการณ์ ถอดบทเรียนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่า พร้อมทั้งประชุมร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อบูรณาการรูปแบบการดำเนินงานในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติด้านการแพทย์และสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)  และใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา  การดำเนินงานในปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่า มีการร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง (Collaboration) มีการเชื่อมโยง ประสานการทำงานภายในหน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานภายนอกอย่างชัดเจนและเป็นระบบ (Associated) มีการร่วมแรงร่วมใจจากประชาชนจิตอาสา (Voluntary) ทำให้เป็นแรงขับเคลื่อนให้การปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Operation Center: EOC) ประสบความสำเร็จ ผลการประเมินความรู้ ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 76.99, SD=10.00 , n = 52)


สรุปและข้อเสนอแนะ ข้อค้นพบคือ รูปแบบ CAVE ส่งผลให้เกิดวามสำเร็จในปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่า พบจุดแข็งด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนปัจจัยการทำงาน 4M ได้แก่  บุคลากร (Man) งบประมาณ (Money) เครื่องมืออุปกรณ์ สถานที่ ยานพาหนะ (Material) และการบริหารจัดการที่ดี (Management) มีอาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้ความช่วยเหลือตามทักษะ ความสามารถ มีจุดอ่อนด้านการสื่อสารการทำงานเนื่องจากมี Incident commander หลายหน่วยงานทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความสับสนโดยมีข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือนำรูปแบบที่ได้จากการพัฒนาแนวทาง ขยายผลไปใช้ในการดำเนินการจัดการภัยพิบัติอื่นๆ พร้อมทั้งมีการทบทวนบทบาทหน้าที่ตามผังโครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ให้เป็นปัจจุบัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. National Security Council, Ministry of Interior, Ministry of Defense. National Preparedness Policy. Bangkok; 2009
2. National Institute of Medical Emergency. Incident command system for disaster management. 1. Bangkok; 2016.
3. Chaing Rai Provincial Health Office. Developed of ICS workshop; 2017 May 4. Wang come Hotel. Chaing Ral; 2018.
4.Department of Disaster Prevention and Mitigation. DDPM STRATEGY PLAN 2017 - 2021. Bankkok; 2017
5. Choosuk C., Thongprasert C.,Thitinantakorn J.Community organization network on disaster management in Sathing Phra Peninsula Songkhla Province. Songkla: Prince of Songkla University; 2015