ปัจจัยเสี่ยงการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินเนื่องจากภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและเชิงกราน ในโรงพยาบาลพะเยา

Main Article Content

กฤติกัญจน์ ไทยศรีสุข
ครรชิต ปัญเศษ
ชากรณัช เขื่อนวัง
สิทธิชัย แก้ววินัด
อาลักษณ์ วรรณธะพิสุทธิ์
สกนธ์ โดยคำดี
กนกรส โค้วจิริยะพันธุ์
พรนภา สุริยะไชย
อนณ ปัญโญใหญ่

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: จากข้อมูลสถิติห้องคลอดโรงพยาบาลพะเยาพบว่าอัตราการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินเนื่องจากภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและเชิงกรานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งสตรีตั้งครรภ์และทารก ซึ่งการทราบปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวน่าจะช่วยให้มีการดูแลสตรีตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินเนื่องจากภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและเชิงกรานที่โรงพยาบาลพะเยา


วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังในสตรีตั้งครรภ์ที่คลอด ณ โรงพยาบาลพะเยา ในเดือนตุลาคม 2560 ถึงกุมภาพันธ์ 2562 มีข้อมูลในเวชระเบียนครบถ้วนจำนวน 408 ราย แบ่งเป็นกลุ่มศึกษาคือกลุ่มที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดจำนวน 231 ราย และกลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่คลอดทางช่องคลอดจำนวน 177 ราย ลักษณะที่ศึกษาได้แก่อายุ ระดับความสูงของยอดมดลูก น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ ส่วนสูง น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ อายุครรภ์ และลำดับการตั้งครรภ์  เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย บันทึกในแบบบันทึกข้อมูล เปรียบเทียบโดยใช้ Chi-square test หรือ Fisher’s exact test ตามความเหมาะสมของข้อมูล วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้วย odds ratio โดย backward stepwise multiple logistic regression


ผลการศึกษา: พบว่าสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์มีโอกาสการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินน้อยกว่ากลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยผู้ใหญ่ (OR = 0.13, 95%CI = 0.05 - 0.30) (p < 0.001) การตั้งครรภ์แรกมีโอกาสผ่าตัดคลอดฉุกเฉินมากกว่าการตั้งครรภ์สองครั้งขึ้นไป (OR = 11.11, 95%CI = 6.37 - 19.37) (p < 0.001) และระดับความสูงของยอดมดลูกมากกว่า 35 เซนติเมตรมีโอกาสผ่าตัดคลอดฉุกเฉินมากกว่าระดับยอดมดลูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 35 เซนติเมตร (OR = 3.54, 95%CI = 2.08 - 6.01) (p < 0.001)


สรุปผลและข้อเสนอแนะ: สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นครรภ์แรกและระดับความสูงของยอดมดลูกที่มากกว่า 35 เซนติเมตร มีโอกาสได้รับการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินเนื่องจากภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและเชิงกราน จึงควรเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมเพื่อความปลอดภัยในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

REFEENCES

Tongprasert F. Cesarean section. Chiangmai: Faculty of medicine Chiangmai University; 2012.

Yukaew N. Cesarean section rate according to Robson’s classification.Journal of Preventive Medicine Association of Thailand. 2017; 7 (3):262-70.

Khunpradit S, Patumanond J, Tawichasri C. Risk indicators for cesarean section due to cephalopelvic disproportion in Lamphun hospital. J Med Assoc Thai. 2005 ;88 Suppl 2:S63-8.

Surapanthapisit P, Thitadilok W. Risk factors of caesarean section due to cephalopelvic disproportion. J Med Assoc Thai. 2006;89 Suppl 4:S105-11.

Mogren I, Lindqvist M, Petersson K, Nilses C, Small R, Granasen G, et al. Maternal height and risk of caesarean section in singleton births in Sweden-A population-based study using data from the Swedish Pregnancy Register 2011 to 2016. PLoS One. 2018;13(5):e0198124.

Suwal A, Shrivastava VR, Giri A. Maternal and fetal outcome in elective versus emergency cesarean section. JNMA J Nepal Med Assoc. 2013;52 (192):563-6.

Benzouina S, Boubkraoui Mel M, Mrabet M, Chahid N, Kharbach A, El-Hassani A, et al. Fetal outcome in emergency versus elective cesarean sections at Souissi Maternity Hospital, Rabat, Morocco. Pan Afr Med J. 2016; 23:197.

Saoji Saoji A, Deoke A, Mitra A. Maternal risk factors of caesarean delivery in a tertiary care hospital in Central India: a case control study. PJSR. 2016;9 (2):18-23..

Hughes AB, Jenkins DA, Newcombe RG, Pearson JF. Symphysis-fundus height, maternal height, labor pattern, and mode of delivery. Am J Obstet Gynecol. 1987; 156(3):644-8.

Jolly MC, Sebire N, Harris J, Robinson S, Regan L. Obstetric risks of pregnancy in women less than 18 years old. Obstet Gynecol. 2000; 96(6):962-6.

Thato S, Rachukul S, Sopajaree C. Obstetrics and perinatal outcomes of Thai pregnant adolescents: a retrospective study. Int J Nurs Stud. 2007;44(7):1158-64.

Khunpradit S, Patumanond J, Tawichasri C. Validation of risk scoring scheme for cesarean delivery due to cephalopelvic disproportion in Lamphun Hospital. J Med Assoc Thai. 2006;89 Suppl 4:S163-8.