การพัฒนาระบบจัดส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

Main Article Content

ปิยะวัฒน์ รัตนพันธุ์
สิรินยา สุริยา
ประดับ เพ็ชรจรูญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา: จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 การปรับระบบบริการให้สอดคล้องกับมาตรการการรักษาระยะทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญที่ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้ การให้บริการคลินิกโรคเรื้อรัง มีขั้นตอนปฏิบัติหลายขั้นตอนทำให้เกิดความล่าช้า เกิดความแออัดของการให้บริการและเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อได้


วัตถุประสงค์: (1) เพื่อพัฒนาระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยา, การปฏิบัติที่เกี่ยวกับการรับประทานยา, ระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รับยาทางไปรษณีย์


วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและประเมินความต้องการที่จำเป็นโดยทำการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องและการทบทวนวรรณกรรม (2) การออกแบบและพัฒนาระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ (3) การทดลองใช้รูปแบบระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ที่สร้างขึ้น และ (4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ให้เหมาะสมและพร้อมนำไปใช้ต่อไป


ผลการศึกษา: การพัฒนาระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ พบว่าผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 70.8, ความรู้เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับประทานยาอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 79.3, ความพึงพอใจต่อระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ ร้อยละ 96.2  ระดับความดันโลหิตก่อนและหลังรับยาทางไปรษณีย์ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ


สรุปและข้อเสนอแนะ: การพัฒนาระบบจัดส่งยาทางไปรษณีย์ของโรงพยาบาลท่าวังผา ผลการดำเนินงานพบว่ามีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและผู้ป่วยมีความพึงพอใจ สำหรับประเทศไทยโรงพยาบาลควรมีการริเริ่มพัฒนาระบบการเติมยาที่มีความหลากหลายเพื่อเพิ่มช่องทางการรับยาของผู้ป่วยและลดความแออัดในการรับบริการ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Sohrabi C, Alsafi Z, O'Neill N, Khan M, Kerwan A, Al-Jabir A, et al. World Health Organization declares global emergency: A review of the 2019 novel coronavirus (COVID-19). Int J Surg 2020;76:71-6.
2. Manmana S, Iamsirithaworn S, Uttayamakul S. Coronavirus Disease-19 (COVID-19). bamras J 2020;14(2):E1-10.
3. Cunningham AC, Goh HP, Koh D. Treatment of COVID-19: old tricks for new challenges. Crit Care 2020 Mar 16;24(1):91.
4. Ahmed F, Zviedrite N, Uzicanin A. Effectiveness of workplace social distancing measures in reducing influenza transmission: a systematic review. BMC Public Health 2018 Apr 18;18(1):518
5. Fong MW, Gao H, Wong JY, Xiao J, Shiu EYC, Ryu S, Cowling BJ. Nonpharmaceutical Measures for Pandemic Influenza in Nonhealthcare Settings-Social Distancing Measures. Emerg Infect Dis 2020 May;26(5):976-84.
6. Department of medical services. Guideline for management overcrowding in hospital to reduce spreading of "COVID-19" [Internet] 2020 [cited Apr 26, 2020]. Available from: http://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=23
7. Thananithisak C, Thadee S, Angkabsuwan S, Pongvilairut M, Dhippayom T. Survey of Preference for Prescription Refilling Options in Patients with Chronic Diseases. Thai J Pharm Prac 2019;11(3):504-14.
8. Wittawassamrankul R. Assessment of mail service pharmacy for outpatients with chronic diseases at Lerdsin hospital [Master thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2003.
9. Zhang L, Zakharyan A, Stockl KM, Harada AS, Curtis BS, Solow BK. Mail-order pharmacy use and medication adherence among Medicare Part D beneficiaries with diabetes. J Med Econ 2011;14(5):562-7.
10. Schmittdiel JA, Karter AJ, Dyer WT, Chan J, Duru OK. Safety and effectiveness of mail order pharmacy use in diabetes. Am J Manag Care 2013 Nov;19(11):882-7.
11. Ma J, Wang L. Characteristics of Mail-Order Pharmacy Users: Results From the Medical Expenditures Panel Survey. J Pharm Pract 2020 Jun;33(3):293-8.
12. Tungjittiporn W, Thantai N. Mail-order pharmacy: Siriraj Hospital [Internet] 2015 [cited May 18, 2020]. Available from: http://www.ksp-hosp.com/km_ksp/index.php?action=dlattach; topic=6144.0;attach=172
13. Tepsuriyanont S. Medication Adherence Behavior among Hypertensive Adult Patients. JRTAN 2017 Sep-Dec;18(3):115-22.
14. Heungwattanakul P. Drug Delivery Address: Pranangklao Hospital [Internet] 2015 [cited May 18, 2020]. Available from: http://dmsic.moph.go.th/dmsic/admin/files/userfiles/ files/DrugMailDelivery.pdf
15. National Health Security Office. Terms and Conditions of payment for patients with COVID-19 in National Health Security System [Internet] 2020 [cited May 18, 2020]. Available from: https://www.nhso.go.th
16. Sumrankong P. Cost – Effectiveness Analysis of Pharmacy Mail-Order Service Compared with Outpatient Department Service for Schizophrenic Patients at Suanprung Hospital, Chiang Mai Province. Bulletin of Suanprung 2013 Jan-Apr;29(1):47-59.
17. Duru OK, Schmittdiel JA, Dyer WT, Parker MM, Uratsu CS, Chan J, et al. Mail-order pharmacy use and adherence to diabetes-related medications. Am J Manag Care 2010 Jan;16(1):33-40.
18. Kappenman AM, Ragsdale R, Rim MH, Tyler LS, Nickman NA. Implementation of a centralized mail-order pharmacy service. Am J Health Syst Pharm 2019 2019 Sep 1;76(Supplement_3):S74-S78.