ค่าทำนายผลลบในการตรวจอัลตร้าซาวด์และตรวจการทำงานของตับก่อนผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี กับการตรวจพบนิ่วในท่อน้ำดีภายหลังการผ่าตัดของโรงพยาบาลแม่สอด
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง การใช้อัลตร้าซาวด์ร่วมกับการตรวจค่าการทำงานของตับ เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคนิ่วในถุงน้ำดี เป็นเครื่องมือพื้นฐานมีในทุกโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความชำนาญ ใช้เป็นแนวทางในการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อตรวจหานิ่วในท่อน้ำดี การใช้อัลตร้าซาวด์ร่วมกับการตรวจค่าการทำงานของตับจะยังสามารถยังมีความคุ้มค่า และมีประโยชน์ในด้านประสิทธิภาพอยู่ได้เพียงใดในการทำนายการเกิดนิ่วในท่อน้ำดีภายหลังผ่าตัดถุงน้ำดี
วัตถุประสงค์: ค่าทำนายผลลบในการตรวจอัลตร้าซาวด์และตรวจการทำงานของตับก่อนผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี กับการตรวจพบนิ่วในท่อน้ำดีภายหลังการผ่าตัดของโรงพยาบาลแม่สอด
วัสดุและวิธีการ เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีในโรงพยาบาลแม่สอด ตั้งแต่ปี เดือนมกราคม2556-ธันวาคม2561 มีผลอัลตร้าซาวด์ก่อนผ่าตัดปกติ และผลการตรวจการทำงานของตับปกติ และติดตามมากกว่าสองปีว่ามีนิ่วในท่อน้ำดีในเกิดขึ้นหรือไม่
วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา คำนวนค่าการทำนายผลลบ(Negative predictive value)การตรวจอัลตร้าซาวด์และตรวจการทำงานของตับก่อนผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี กับการตรวจพบนิ่วในท่อน้ำดีภายหลังการผ่าตัด
ผลการศึกษา มีผู้ป่วย 442 ราย อายุเฉลี่ย 50.6ปี (พิสัย17.5-89.7ปี) เป็นหญิง 323 คน(73.07%) ได้รับการตรวจโดยอัลตร้าซาวด์ 388 ราย เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ 54ราย การตรวจค่าการทำงานของตับ ไม่ได้ตรวจก่อนผ่าตัด 60 ราย ตรวจพบปกติ 364 ราย มี18รายตรวจพบผิดปกติมาก่อนแล้วมาปกติในวันก่อนผ่าตัด 18 ราย ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง 217ราย ผ่าตัดแบบส่องกล้อง 218ราย ผ่าตัดแบบส่องกล้องและเปลี่ยนเป็นแบบเปิดหน้าท้อง 7ราย การตรวจติดตามหลังการผ่าตัด ตรวจติดตามน้อยกว่าสองเดือน 126ราย,สองเดือนถึงสองปี 188ราย,มากกว่าสองปี 128ราย พบว่ามีนิ่วในท่อน้ำดี 3ราย ทั้งสามรายผลการตรวจอัลตร้าซาวด์ก่อนผ่าตัดพบเพียงนิ่วในถุงน้ำดีไม่พบท่อน้ำดีขยายตัว ค่าการทำงานของตับปกติ
สรุป ค่าทำนายผลลบจากใช้อัลตร้าซาวด์และการตรวจค่าการทำงานของตับในผู้ป่วยที่มีอาการนิ่วในถุงน้ำดีก่อนผ่าตัดไม่พบนิ่วในท่อน้ำดีหลังการผ่าตัดถุงน้ำดีได้99.22% ผู้ป่วยจำนวนน้อยมากเพียง 0.78%ที่พบนิ่วในท่อน้ำดีหลังผ่าตัดและสามารถรักษาได้ด้วยการส่องกล้องทางเดินน้ำดีเพื่อเอานิ่วออก ฉะนั้นการตรวจอัลตร้าซาวด์ไม่พบความผิดปกติในท่อน้ำดีและค่าการทำงานของตับปกติ ก็สามารถผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีได้เลยโดยไม่ต้องตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นเพิ่มเติมเพื่อตรวจหานิ่วในท่อน้ำดี
Article Details
References
2. Shaffer EA. Gallstone disease: Epidemiology of gallbladder stone disease. Best Pract Res Clin Gastroenterol 2006; 20: 981–996
3. Tazuma S. Gallstone disease: Epidemiology, pathogenesis, and classification of biliary stones (common bile duct and intrahepatic). Best Pract Res Clin Gastroenterol 2006; 20: 1075–1083
4. Barbara L, Sama C, Morselli Labate AM et al. A population study on the prevalence of gallstone disease: the Sirmione Study. Hepatology 1987; 7: 913–917
5. Halldestam I, Enell EL, Kullman E et al. Development of symptoms and complications in individuals with asymptomatic gallstones. Br J Surg 2004; 91: 734–738
6. Fein M, Bueter M, Sailer M et al. Effect of cholecystectomy on gastric and esophageal bile reflux in patients with upper gastrointestinal symptoms. Dig Dis Sci 2008; 53: 1186–1191
7. Gracie WA, Ransohoff DF. The natural history of silent gallstones: the innocent gallstone is not a myth. NEJM 1982; 307: 798–800
8. McSherry CK, Ferstenberg H, Calhoun WF et al. The natural history of diagnosed gallstone disease in symptomatic and asymptomatic patients. Ann Surg 1985; 202: 59–63
9. Shabanzadeh DM, Sorensen LT, JorgensenT. A prediction rule for risk stratification of incidentally discovered gallstones: results from a large cohort study. Gastroenterology 2016; 150: 156–167
10. Ransohoff DF, Gracie WA, Wolfenson LB et al. Prophylactic cholecystectomy or expectant management for silent gallstones. A decision analysis to assess survival. Ann Intern Med 1983; 99: 199–204
11. Friedman GD. Natural history of asymptomatic and symptomatic gallstones. Am J Surg 1993; 165: 399–404
12. Ko CW, Lee SP. Epidemiology and natural history of common bile duct stones and prediction of disease. Gastrointest Endosc 2002; 56: S165–S169
13. Moller M, Gustafsson U, Rasmussen F et al. Natural course vs interventions to clear common bile duct stones: data from the Swedish Registry for Gallstone Surgery and Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography (GallRiks). JAMA Surg 2014; 149: 1008–1013
14. Gurusamy KS, Giljaca V, Takwoingi Yet al. Ultrasonography versus liver function tests for diagnosis of common bile duct stones. Cochrane Database Syst Rev 2015: CD011548
15. Jagtap Nitin et al. Clinical utility of ESGE and ASGE guidelines for prediction of suspected choledocholithiasis in patients undergoing cholecystectomy. Endoscopy 2020: doi:10.1055/a-1117-3451
16. Kim CW, Chang JH, Lim YS et al. Common bile duct stones on multidetector computed tomography: attenuation patterns and detectability. World J Gastroenterol 2013; 19: 1788–1796
17. Wilcox CM, Kim H, Trevino J et al. Prevalence of normal liver tests in patients with choledocholithiasis undergoing endoscopic retrograde cholangiopancreatography. Digestion 2014; 89: 232–238
18. Qiu Y, Yang Z, Li Z et al. Is preoperative MRCP necessary for patients with gallstones? An analysis of the factors related to missed diagnosis of choledocholithiasis by preoperative ultrasonography. BMC Gastroenterol 2015; 15: 158
19. Giljaca V, Gurusamy KS, Takwoingi Yet al. Endoscopic ultrasonography versus magnetic resonance cholangiopancreatography for common bile duct stones. Cochrane Database Syst Rev 2015: CD011549
20. Talukdar R. Complications of ERCP. Best Pract Res Clin Gastroenterol 2016; 30: 793–805
21. Manes G, Paspatis G, Aabakken L et al. Endoscopic management of common bile duct stones: European Society of Gastrointestinal Endoscopy (ESGE) guideline. Endoscopy 2019; 51: 472–491