ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลบ้านธิ จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลบ้านธิ จังหวัดลำพูน
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญของประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ให้ได้ผลดี มีหลายปัจจัย เช่น ความร่วมมือร่วมใจในการใช้ยา การใช้ยาพ่นที่ถูกต้องงดสูบบุหรี่ การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ดังนั้นเภสัชกรควรมีบทบาทในการบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อส่งเสริมการใช้ยาให้เป็นไปอย่างปลอดภัย ป้องกัน และ แก้ไขปัญหาจากการรักษาด้วยยา เพิ่มคุณภาพในการดูแลรักษา และมีผลการรักษาที่ดี
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ 1) ความร่วมมือในการใช้ยา 2) ความถูกต้องของการใช้ยาพ่นสูด 3) จำนวนครั้งการนอนโรงพยาบาลด้วยการกำเริบ 4) จำนวนครั้งของการเข้ารับบริการห้องฉุกเฉินด้วยการกำเริบ 5) ผลลัพธ์เชิงเศรษฐศาสตร์ 6) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง คัดเลือกผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ใน อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ที่มารับบริการโรงพยาบาลบ้านธิ ระหว่าง เดือนมกราคม – มิถุนายน 2562 จำนวน 80 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม (กลุ่มทดลอง) และ กลุ่มที่ไม่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม (กลุ่มควบคุม) กลุ่มละ 40 คน เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเจ็บป่วย แบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบประเมินความถูกต้องของการใช้ยาพ่นและขั้นตอนการพ่นยา แบบสอบถามคุณภาพชีวิต ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ เปรียบเทียบผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมระหว่าง 2 กลุ่ม ทั้งก่อนและหลังการวิจัยด้วยสถิติไคสแควร์ สถิติทดสอบฟิชเชอร์ และสถิติทดสอบที ชนิดสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน
ผลการศึกษา : ณ จุดเริ่มต้นการวิจัย พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่หลังจากให้การบริบาลทางเภสัชกรรมพบว่า กลุ่มทดลอง มีความร่วมมือในการใช้ยา มีเทคนิคพ่นยาได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ลดจำนวนครั้งการนอนโรงพยาบาล และ การรับบริการห้องฉุกเฉินด้วยการกำเริบจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวมทั้งมีผลลัพธ์เชิงเศรษฐศาสตร์ และ มีคุณภาพชีวิตในมิติต่างๆ ดีกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01 ถึง p < 0.05)
สรุปผลและข้อเสนอแนะ : จากผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า เภสัชกรควรมีบทบาทเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง และควรขยายการบริบาลทางเภสัชกรรม แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มอื่น
คำสำคัญ : การบริบาลทางเภสัชกรรม, ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรม, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Article Details
References
2. Banthi hospital medical record department medical statistic section. Number of chronic obstructive pulmonary disease patients and dead case 2015 - 2017. 2018.
3. Boonsawat W. Easy Chronic obstructive pulmonary disease Treatment. Bangkok: Kalangnanawitays; 2012.
4. Boonsung P. Effectiveness of Self-management Educational Program for Chronic Obstructive Pulmonary Disease Patients at RongKwang Hospital, Phrae Province. [Thesis for Master of Pharmacy]. (Clinical Pharmacy). Chiangmai: Chiangmai university; 2012.
5. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD). Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease. [Internet]. 2018. Available from: https://www.goldcopd.org.
6. Jarab AS, Alqudah SG, Khdour M, Shamssain M, Mukattash TL. Impact of pharmaceutical care on health outcome in patient with COPD. Int J Clin Pharm . 2012; 34:53-62.
7. Kozma CM, Reeder CE, Schulz RM. Economic, Clinical, and Humanistic Outcomes : a planning Model for Pharmacoeconomic research. Advances in Lung Cancer Journal. 1993; 6(2):1121-32.
8. Kunwalairat P, Mayases P, Thongdang P. Assessment of pharmaceutical care outcomes on the patients with chronic obstructive pulmonary disease attending community hospital in Thailand. IJPS 2014;10 (1): 80.
9. Lozano R, Naghavi M, Foreman K, Lim S, Shibuya K, Aboyans V, et al. Global and regional mortality form 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010. 2012; 380(9859): 2095-128.
10. Ministry of Public Health. Gide line for Emergency room service delivery in hospital. Nonburi: Samchi group 2017 printing; 2018.
11. Ministry of Public Health. HDC-Report. Indicators of the Ministry of non-communicable Chronic Obstructive Pulmonary Disease. [Internet]. 2018 [cited 2019 May 8]. Available from: https://www.google.co.th/search?ei=T25UW indicator COPD.
12. Murnpa R. Continuity of Care in Primary Care Unit. [Internet]. 2012. Available from: https://www.thaihealthconsumer.org/book/.
13. Nation Health Security Office (NHSO). Public health service gideline 2010. Bankok: Srinuang – printing co.Ltd.; 2010.
14. Pummangkul CH. Pharmaceutical care : Concept and practice for today pharmacists. Bankok: Prachachon co, Ltd.; 2008.
15. Rakwannawong A. Drug-Related Problems and problem – Solving Outcomes of Out - Patients Chronic Obstructive Pulmonary Disease in Nakornping Hospital. [Thesis for Master of Pharmacy]. (Clinical Pharmacy). Chiangmai: Chiangmai University; 2012.
16. Sanguansak S, Sonsingh W, Niwatananun K. Outcomes of Pharmaceutical Care Development in Pediatric Patients with Thalassemia Using Deferiprone in Phrae Hospital. IJPS. 2019; 12(1): 13-24.
17. Sirikun P, Puttapitukpol S, Sangmanee R. The effect of caring model for patients with chronic obstructive pulmonary disease in the community after discharge from Sungaipadi hospital, Narathiwas province. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing. 2017; 28(1): 59-67.
18. Throacic Society of Thailand under Royal Patronage. Health service Practice Guideline Chronic Obstructive Pulmonary Disease 2017. Bankok: Beyond Enterprize Company; 2017.
19. Tommelein E, Mehuys E, Vanhees T, Adriaens E, Van Bortel L, Christiaens T, et al. Effectiveness of pharmaceutical care for patients with chronic obstructive pulmonary disease (PHARMACOP). British Journal of Clinical Pharmacology. Belgium. 2013; 77(5): 756-766.
20. World Health Organization (WHO). Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) [Internet]. 2017 [cited 2019 May 8]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd)?fbclid=IwAR0zf_HVECL_2OIVlRKUZ5iqHkieGdXaB53JHaI3jxBk F3kDyR_MCfClZGE.