ภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลหลักของครอบครัวของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลระยะยาว ในอำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ,ประเทศไทย

Main Article Content

คงศักดิ์ ชัยชนะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


วัตถประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลระยะยาวในอำเภอขุนตาล ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 


วิธีการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลระยะยาวในอำเภอขุนตาลจำนวน 150 ราย ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 โดยใช้แบบสอบถามทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส โรคประจำตัว จำนวนกิจกรรมที่ต้องช่วยเหลือผู้ป่วย จำนวนยาที่ได้รับ จำนวนผู้ที่มาช่วยดูแลผู้ป่วย ,แบบสอบถามคัดกรองโรคซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต ,แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ อัตราความชุก ร่วมกับช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่าเฉลี่ย อัตราออด ไคแสควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกส์เพื่อหาปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า


ผลการศึกษา ผู้ดูแลหลักของครอบครัวของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลระยะยาว พบว่ามีผู้เข้าร่วมการศึกษา 150 ราย เป็นเพศชาย 36 ราย และ หญิง 114 ราย มีภาวะซึมเศร้าจากการตอบแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต 6 ราย พบความชุกของภาวะซึมเศร้า เท่ากับ ร้อยละ 4 โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ จำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในการดูแล(OR=5.423, 95%CI: 1.189 - 24.725 ,p-value = 0.029*) และ ความต้องการทำแผลของผู้ป่วยที่ดูแล (OR=2954.416, 95%CI: 1.830 - 4768479.684 ,p-value = 0.034*,0.010**) *Multiple logistic regression,**Chi-square ,Fisher's Exact Test


สรุปผลการศึกษา ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลระยะยาวในอำเภอขุนตาล คือ ร้อยละ 4 และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ จำนวนผู้อยู่ภายใต้การดูแล และความต้องการทำแผลของผู้ป่วยที่ดูแล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เอกสารอ้างอิง


สํานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, 2560, รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557,ครั้งที่ 1, บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จํากัด,119/138 หมู่ 11 เดอะ เทอร์เรส ซ.ติวานนท์3 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี หน้า.16-36

เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ และคณะ, พ.ศ. 2554, “ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรสูงอายุจังหวัดเชียงใหม่”, วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 56, ฉบับที่ 2 หน้า.103-116


Williamson GM, Schulz R. Coping with specific stressors in Alzheimer's disease caregiving. Gerontologist. 1993;33:747–754.


Pearlin LI. conceptual strategies for the study of caregiver stress. In: Light W, Niederehe G and Lebowitz BD, editor. Stress Effects on Family Caregivers of Alzheimer's Patients, Research and Interventions. New York, NY, Springer Publishing Company; 1994.


ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ และคณะ, พ.ศ. 2559, “ความชุกของภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ”, วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 61, ฉบับที่ 4 หน้า.319-330


เชิดชาย ชยวัฑโฒ, พ.ศ. 2559, “การศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง”, วารสารแพทย์เขต 4-5, ปีที่ 35, ฉบับที่ 1 หน้า.14-27


Wafaa Ismail Sherif และคณะ, ค.ศ. 2014, “Anxiety and Depression among Family Caregivers of Older Adults with Cancer”, Journal of Education and Practice, Vol.5, No.38, page.76-86


Arai Y. และคณะ, ค.ศ. 2014, “Depression among family caregivers of community-dwelling older people who used services under the Long Term Care Insurance program: a large-scale population-based study in Japan”, Aging Ment Health, Vol.18, No.1, page.81-91


Abdullelah S. และคณะ, ค.ศ. 2018, “Depression Among Caregivers of Patients With Dementia”, INQUIRY: The Journal of Health Care Organization, Provision, and Financing, Vol.55, No.1 , page.1-6


Margaret Njeri Mbugua และคณะ, ค.ศ. 2011, “The Prevalence of Depression among Family Caregivers of
Children with Intellectual Disability in a Rural Setting in Kenya”, Hindawi Publishing Corporation International Journal of Family Medicine, Vol.2011, No.1 ,page.1-5


Roksana Malak และคณะ, ค.ศ. 2016, “Condition of informal caregivers in long-term care of people with dementia”, Annals of Agricultural and Environmental Medicine, Vol.23, No.3, page.491–494


Tami Saito และคณะ, ค.ศ. 2018, “Income-based inequalities in caregiving time and depressive symptoms among older family caregivers under the Japanese long-term care insurance system: A cross-sectional analysis”, PLoS ONE, Vol.13, No.3, page.1-13


Thapsuwan S, Thongcharoenchupong N, Gray R., ค.ศ. 2012 “Determinants of Stress and Happiness Among Family Caregivers to Older Persons”, Thai Population Journal 2012; 4: 75-92.


Yaqin Zhong และคณะ,ค.ศ. 2020, “Social support and depressive symptoms among family caregivers of older people with disabilities in four provinces of urban China: the mediating role of caregiver burden”,BMC Geriatrics, Vol.20, No.3



ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ และคณะ,พ.ศ. 2559, “ความชุกของภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ”,วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2559; 61(4): 319-330


Pasquale De Fazio และคณะ, ค.ศ. 2015, “Depressive symptoms in caregivers of patients with dementia: demographic variables and burden”, Clinical Interventions in Aging 2015, Vol.10: 1085–1090


Chalothorn Chaobankrang และคณะ, ค.ศ. 2019, “Predictors of Depression among Thai Family Caregivers of Dementia Patients in Primary Care”, International Journal of Gerontology & Geriatric Research, Vol.3 Issue 1


Yao Huang และคณะ, ค.ศ. 2018, “Investigation on the Status and Determinants of Caregiver Burden on Caring for Patients with Chronic Wound”, ADVANCES IN WOUND CARE, Vol.8, No.9