การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง (Abdominal Aortic Aneurysm) ของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ในช่วงริเริ่มระหว่างวิธีสวนหลอดเลือด( EVAR) กับวิธีผ่าตัดเปิดช่องท้อง (Open Aneurysm repair)
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลและความเป็นมา: ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาการผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดเปลี่ยนจากการรักษาแบบผ่าตัดปกติ ไปเป็นการผ่าตัดผ่านการสวนหลอดเลือด (Endovascular) ซึ่งรุกล้ำร่างกายน้อย (minimal invasive)6,7 คนไข้จะได้รับความปลอดภัยจากการรักษาเพิ่มสูงขึ้น เสียเลือดน้อย เสียเวลาผ่าตัดน้อย ลดเวลาการนอน ICU ลดเวลาการนอนโรงพยาบาล ทำให้โดยรวมน่าที่จะเกิดผลกระทบเชิงบวกเป็นวงกว้างต่อภาพรวมของโรงพยาบาลในระดับโรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งในระยะเริ่มต้นย่อมเจอปัญหาและอุปสรรคซึ่งมีผลต่อการให้บริการวิธีนี้ ยกตัวอย่าง เช่น ระยะเวลาเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วย อุปกรณ์เครื่องมือที่มีข้อจำกัด รวมถึงทักษะความสามารถที่ต้องใช้เวลาเพื่อเพิ่มพูนสั่งสมประสบการณ์ ทำให้ช่วง learning period นี้เป็นช่วงที่น่าเก็บข้อมูลมาศึกษาในรายละเอียดเป็นอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้ต้องการเปรียบเทียบรายละเอียดการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองทั้งสองวิธีในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรในทุกมิติทั้งทางด้านคนไข้ ตัวโรค ผลลัพธ์การรักษาและความคุ้มค่าต่อโรงพยาบาล
วิธีดำเนินงานวิจัย: เราทำการศึกษาย้อนหลังเวชระเบียนคนไข้โรคเส้นเลือดโป่งพองในช่องท้อง ที่มารักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ตั้งแต่ตุลาคม 2557 ถึง มิถุนายน 2561ทั้งในส่วนที่มารักษาแบบฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉิน จากนั้นทำการคัดกลุ่มคนไข้ที่เป็นโรคในระดับ Suprarenal AAA, Aortic dissection, คนไข้ที่มีสัญญาณชีพไม่ดีหรือต้อง CPR ที่ไม่ได้รับการตรวจภาพ computer tomography angiography ในตอนแรกรับคนไข้ออกไป จากนั้นทำการแบ่งกลุ่มคนไข้ตามการรักษาออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่ม Open repair และกลุ่ม EVAR เพื่อมาเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพ ลักษณะพื้นฐานทางโรคหลอดเลือดโป่งพอง ผลลัพธ์ทางการรักษารวมถึงค่าใช้จ่าย โดยใช้ค่าทางสถิติ
ผลลัพธ์การวิจัย: เราทำการศึกษาย้อนหลังเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งสิ้น 172 ราย ในจำนวนนี้คัดออกไปตามข้อบ่งชี้ 87 รายเหลือ 85 รายมาทำการแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มที่รักษาโดยวิธีผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องมีจำนวน 41 ราย และรักษาโดยวิธีสวนหลอดเลือด 44 ราย จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยในทั้งสองกลุ่ม ทั้งลักษณะทางกายภาพและลักษณะทางกายวิภาคของหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้อง ยกเว้นเพียงแต่ขนาดของ Aneurysm ที่ทางฝั่งของวิธี Open repair จะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างมีนัยสำคัญ (70.25 +/- 14.9: 59.6 +/- 12.9 mm, p <0.001) และการที่ตัวโรค AAA ในฝั่งของวิธี EVAR นั้นมีช่วง aneurysm Neck length ที่มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (21.4 +/- 13.2: 29 +/- 11.5 mm, p 0.006) ในส่วนผลลัพธ์ของการรักษาก็เหมือนกับการศึกษารวบรวมก่อนหน้านี้ที่มักพบว่า EVAR มีผลการรักษาในช่วงแรกดีกว่าผลแทรกซ้อนน้อยกว่าวิธี Open แต่ทั้งนี้ก็พบว่า คนไข้ที่ผ่าตัดโดยวิธี EVAR มีค่าใช้จ่ายต่อรายสูงกว่า (579,039 +/- 114,247.1:147,865.4 +/- 76,992.9 bath, p<0.001)
ข้อสรุปการวิจัย: ในช่วงริเริ่มการจัดบริการการรักษาโรค AAA ด้วยวิธี EVAR เราสามารถคาดหวังถึงผลลัพธ์ของการรักษาที่ดีได้ ถ้ามีการเตรียมการวางแผนการเลือกคนไข้ที่ดีพอโดยไม่เกี่ยงต่อทรัพยากรและประสบการณ์ที่จำกัด แต่อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายที่ตามมาก็เป็นสิ่งที่โรงพยาบาลจะต้องวางแผนงบประมาณมาสนับสนุนชดเชยการจัดบริการชนิดนี้
Article Details
References
2. Greenhalgh RM, Brown LC, Kwong GP, Powell JT, Thompson SG, participants Et. Comparison of endovascular aneurysm repair with open repair in patients with abdominal aortic aneurysm (EVAR trial 1), 30-day operative mortality results: randomized controlled trial. Lancet. 2004 Sep 4-10;364(9437):843-8.
3. Bae M, Chung SW, Lee CW, Song S, Kim E, Kim CW. A Comparative Study of Abdominal Aortic Aneurysm: Endovascular Aneurysm Repair versus Open Repair. The Korean journal of thoracic and cardiovascular surgery. 2017 Aug;50(4):263-9.
4. Dunschede F, Aftahy K, Youssef M, Dopheide J, Binder H, Dorweiler B, et al. [Propensity Score and Long-Term Survival Results after Open versus Endovascular Treatment of Abdominal Aortic Aneurysm]. Zentralblatt fur Chirurgie. 2016 Oct;141(5):518-25.
5. Humphries MD, Suckow BD, Binks JT, McAdam-Marx C, Kraiss LW. Elective Endovascular Aortic Aneurysm Repair Continues to Cost More than Open Abdominal Aortic Aneurysm Repair. Annals of vascular surgery. 2017 Feb;39:111-8.
6. Burgers LT, Vahl AC, Severens JL, Wiersema AM, Cuypers PW, Verhagen HJ, et al. Cost-effectiveness of Elective Endovascular Aneurysm Repair Versus Open Surgical Repair of Abdominal Aortic Aneurysms. European journal of vascular and endovascular surgery: the official journal of the European Society for Vascular Surgery. 2016 Jul;52(1):29-40.
7. McHugh SM, Aherne T, Goetz T, Byrne J, Boyle E, Allen M, et al. Endovascular versus open repair of ruptured abdominal aortic aneurysm. The surgeon: journal of the Royal Colleges of Surgeons of Edinburgh and Ireland. 2016 Oct;14(5):274-7.
8. Stather PW, Sidloff D, Dattani N, Choke E, Bown MJ, Sayers RD. Systematic review and meta-analysis of the early and late outcomes of open and endovascular repair of abdominal aortic aneurysm. The British journal of surgery. 2013 Jun;100(7):863-72