สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่ผ่านการอบรม หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต

Main Article Content

สิริอร ข้อยุ่น
วัจนา สุคนธวัฒน์
เบญจวรรณ กิจควรดี
จุฑารัตน์ ลมอ่อน
ภาสินี โทอินทร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา


การเจ็บป่วยวิกฤตเป็นการเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงมีความเสี่ยงสูงและคุกคามต่อชีวิต จำเป็นต้องได้รับการดูแล จากพยาบาลที่มีสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต มีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลผู้ป่วย การศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการเพิ่มพูนสมรรถนะของพยาบาลจึงเป็นสิ่งจำเป็น


วัตถุประสงค์


เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยวิกฤต หลังผ่านการอบรม หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต 4 เดือน


วิธีการศึกษา


เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยวิกฤตจำนวน 60 คน ประเมินสมรรถนะตนเองและหัวหน้างานเป็นผู้ประเมิน ตามกรอบแนวคิดสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพของสภาการพยาบาล 8 ด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนประเมินสมรรถนะตนเองและหัวหน้างานประเมินโดยใช้ Independent T- test


ผลการศึกษา


พบว่าค่าเฉลี่ยสมรรถนะอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน มากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านจริยธรรมจรรยาบรรณ กฎหมาย และด้านคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ สมรรถนะด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  จากการเปรียบเทียบคะแนนประเมินสมรรถนะตนเองและหัวหน้างานประเมิน ในทุกด้านไม่แตกต่างกัน (P>0.05)


สรุปผลและข้อเสนอแนะ


การศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนาและเติมเต็มสมรรถนะที่เหมาะสมสำหรับพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Limumnoilap S, Thumnong C. Critical Care Nursing. 9th ed. Khon Khaen: Klungnana Vitthaya; 2016.
2. Davidson, J. E., Powers, K., Hedayat, K. M., Tieszen, M., Kon, A. A., Shepard, E., & Ghandi, R. Clinical practice guidelines for support of the family in the patient-centered intensive care unit: American College of Critical Care Medicine Task Force 2004–2005. Critical care medicine. 2007; 35(2); 605-622
3. Pungseepeng S. Nursing Practice for Critical Care. Public Health & Health Laws Journal. 2017;3(2):180-192.
4. Thiankumsri K, Bundasak T. The Humanized Care for Crisis Patients: Perception from Nursing Students’ Practicum. Journal of MCU Peace Studies. 2018;6(4):1320-1333.
5. Selvey, C., Bontrager, J., Hirsh, L., Daley, M. Clinical evaluation day: Measuring competency.Nursing Management.1991;22(4):50-51.
6. Robinson, S. M., & Barberis-Ryan, C. Competency assessment. Nursing Management. 1995;26(2):40.
7. Thailand nursing and midwifery council. Competencies of registered nurses. 2nd ed. Bangkok: Siriyod printing ; 2010.
8. Tumsawad B, Rattanajarana S, Sakulkoo S. Professional Nurses' Competencies in Caring for Patients with Chronic Illness, General and Regional Hospitals, Ministry of Public Health. The journal of faculty of nursing Burapha University. 2013;21(3):36-47.
9. Runghirun S. Factors affecting job Competency of Professional Nurses in Community Hospital, Pathumthani Province. EAU Heritage journal science and technology. 2012;6(1):109-120.
10. Davidsone. et al. “Clinical practice guidelines for support of the family in the patient-centered intensive care unit: American College of Critical Care Medicine Task Force 2004-2005”. Critical care medicine. 2007;35(2), 605-622.
11. Tiyawisutsri C, Pakdeewong P, Wannapornsiri C. The competencies required for nurses in Thailand. JOURNAL OF HEALTH SCIENCE RESEARCH. 2016 ;10(1):17-22.
12. Singhanetr S, Jaisit J, Henkeaw W. Nursing leadership in the 21st century. Naresuan Phayao Journal. 2017;10(1):17-22.
13. Viranun V, Potisupsuk C, Pandii W. Factors Influencing Research Competency of Professional Nurses in Community Hospitals, Public Health Inspection Region 17. The 3rd STOU Graduate Research Conference [Internet]. [cited 28 August 2019]; Available from: https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/%E0%B8%9D%E0%B8%AA%E0%B8%AA/research/3nd/FullPaper/HS/Oral/OHS
14. Maneewong A. FACTORS INFLUENCING RESEARCH COMPETENCY AMONG PUBLIC HEALTH NURSES IN CENTRAL REGION, THAILAND. Public health nurse Thailand.2015; 30(3):1-15.
15. Pancharoen C. Concepts of communication concerning medical services. Chula Med J. 2012;56(5):527-531.
16. Connelly, L. M., Nabarrete, S. R., & Smith, K. K. (2003). A charge nurse workshop based on research. Journal for Nurses in Professional Development, 19(4), 203-208
17.สำนักการพยาบาล. (2556). แนวทางการจัดระบบสารสนเทศทางการพยาบาลในโรงพยาบาล. นนทบุรี: เทพเพ็ญวานิชย์.2556:1.
18. Saebu L, Singchungchai P, Thiangchanya P. Development in Informatics and Utilization of Informatics as Perceived by Professional Nurses in General Hospitals, Southern Thailand. The southern college network journal of nursing and public health. 2016;3(1):140-157.