ผลของการซักประวัติเพิ่มที่จุดลงทะเบียนก่อนเข้ารอการคัดกรองหน้าห้องตรวจ ในผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจต่อการได้รับการวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอด งานห้องตรวจอายุรกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

kunnika chinafoei
ปิยะนุช วรรณไกรโรจน์
อุทัยชนินทร์ จันทร์แก้ว

บทคัดย่อ

ความเป็นมา


วัณโรคเป็นโรคติดต่อสำคัญที่กำลังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขทั่วโลก สถานการณ์วัณโรคจังหวัดเชียงราย พบว่ามีอัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น จากรายงานการเจ็บป่วยของบุคลากรโรงพยาบาลเชียงราย      ประชานุเคราะห์ พบว่าบุคลากรป่วยเป็นวัณโรคเพิ่มขึ้นทุกปี การมีระบบการคัดกรองเพื่อค้นพบผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อได้รวดเร็วจะลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อสู่บุคลากรและผู้ป่วยอื่นได้


วัตถุประสงค์


               เพื่อเปรียบเทียบร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองและวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอด ระหว่างการคัดกรองแบบเดิมกับการคัดกรองแบบใหม่ที่เพิ่มการซักประวัติที่จุดลงทะเบียนก่อนเข้ารอการคัดกรองหน้าห้องตรวจ ในผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจได้แก่ ไอมากกว่า 2 สัปดาห์ร่วมกับมีไข้ ไอมีเสมหะปนเลือด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ


วิธีการศึกษา


               เป็นการศึกษาชนิด Efficacy  research รูปแบบ Historical control study เพื่อเปรียบเทียบร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองและวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอด ระหว่างการคัดกรองแบบเดิมกับการคัดกรองแบบใหม่ที่เพิ่มการซักประวัติที่จุดลงทะเบียนก่อนเข้ารอการคัดกรองหน้าห้องตรวจ โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจที่ลงทะเบียนตรวจใหม่ (Walk in) ในแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2562 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2563 โดยใช้แบบคัดกรองวัณโรคของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ซึ่งพัฒนาจากแบบคัดกรองของสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยแพทย์เฉพาะทางโรคทรวงอก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test และ exact probability test      


ผลการศึกษา


               ผลการคัดกรองและวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอด พบว่าการคัดกรองแบบใหม่ที่เพิ่มการซักประวัติที่จุดลงทะเบียนพบผู้ป่วยได้รับการคัดกรองว่าสงสัยเป็นวัณโรคปอดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 33.7 vs 74.0, p=<0.001) การวินิจฉัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเข้าได้กับวัณโรคปอดที่จุดลงทะเบียนมากเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 12.3 vs 14.7, p=<0.155) และผู้ป่วยที่คัดกรองจากพยาบาลหน้าห้องตรวจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอดมีจำนวนลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 31.9 vs 13.6, p=<0.320)


สรุปผลและเสนอแนะ


               ระบบการคัดกรองแบบใหม่ที่เพิ่มการซักประวัติที่จุดลงทะเบียนทำให้ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองและวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอดก่อนเข้ารอการคัดกรองที่จุดหน้าห้องตรวจ จึงเสนอแนะให้เพิ่มการซักประวัติในผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจทุกรายที่มีอาการไอมากกว่า 2 สัปดาห์ร่วมกับมีไข้ ไอมีเสมหะปนเลือด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคสู่บุคลากร และผู้ป่วยอื่นบริเวณหน้าห้องตรวจได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Ministry of Public Health//(Tuberculosis). Retrieved 16 December 2019,/From/ http://tbcmthailand.ddc.moph.go.th/
2. Respiratory Screening Information Internal examination room ChiangRaiPrachanukroh Hospital August - October 2019
3. Inspection report form Chiang Rai province level, fiscal year 2019, group 2, service plan development, disease control topic, Chiang Rai province Inspector General during 5-7 June 2019. http://bie.moph.go.th/e-insreport / file_ province / 1-13-2-2019-05-30-08-28-54.doc
4. Chiang Rai Prachanukroh Hospital Information Center (2019). Annual Report 2019 Chiang Rai Pracha Nukhro Hospital Chiang Rai: Chiang Rai Hospital Prachanukroh
5. Information center. Chiangrai Prachanukroh hospital. Annual reports of Chiagrai Prachanukroh hospital 2019. Chiangrai: Chiangrai Prachanukroh hospital, 2019.
6. Bureau of Tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Guidelines for TB control in Thailand. Bangkok: Graphic and Design alphabet; 2018.
7. Akeau Unahalekhaka, SuchadaLueang-a-papong,Jittaporn Chtreecheur. Implementation, Obstacles and Needs of Hospitals in Thailand in Preventing Tuberculosis Transmission.Journal of Health System Research. 2017;530-31.
8. Jiamjarasrangsi W, Urith S. Assessment and risk management towards tuberculosis transmission in hospital at emergency department, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Thai journal of tuberculosis chest diseases and critical care 2006;27(1):35-46.(in Thai)
9. Wongsangium M. Prevention of tuberculous infection in medical personnel. In Bunyuth P, Nuchprayoon C, Supchareon S. (Eds.).Tuberculosis.(4thEd.)Bangkok: Chulalongkorn University Press, 1999. (in Thai)