ระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การเคลื่อนไหวร่างกาย และการเข้าสังคม ของผู้พิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา ระดับความสามารถในกิจวัตรประจำวัน และการเข้าสังคมของผู้พิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว เป็นข้อมูลพื้นฐานส่วนหนึ่ง ที่จะนำปัญหาที่พบ ไปพัฒนาระบบการให้บริการทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการต่อไป
วัตถุประสงค์ เพื่อได้ทราบระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การเคลื่อนไหวร่างกาย และการเข้าสังคม ของผู้พิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ในจังหวัดเชียงราย
วิธีการศึกษา การศึกษาแบบพรรณนา (descriptive study) โดยทบทวนข้อมูลทางเวชระเบียนของผู้พิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวที่ได้รับการตรวจประเมินและออกเอกสารรับรองความพิการ ในปี พ.ศ.2561 ข้อมูลจากแบบฟอร์มการบันทึกระดับความสามารถในกิจวัตรประจำวัน การเคลื่อนไหวร่างกาย และการเข้าสังคม ด้วยแบบประเมิน International classification of Functioning, disability and health (ICF) ที่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
ผลการศึกษา จากผู้พิการ 360 ราย มีอายุเฉลี่ย 62.3+19.2 ปี (1-97 ปี) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง รองมาคือ โรคข้อและกระดูกขาหัก ตามลำดับ ระดับความสามารถที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ปัญหาในการเข้าสังคมและกิจกรรมนันทนาการ (ร้อยละ 99.4) รองลงมาคือ ปัญหาด้านการประกอบอาชีพและรายได้ (ร้อยละ 95) และปัญหาด้านการเดิน (ร้อยละ 42.5) ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง มีปัญหาด้านการใส่เสื้อผ้า และการกินอาหาร มากกว่าโรคอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผล ผู้พิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ในจังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ระดับความสามารถ ส่วนใหญ่มีปัญหามากที่สุด คือ ทางด้านการประกอบอาชีพ การเข้าสังคมกิจกรรมนันทนาการ และการเดิน โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่สมอง จะมีปัญหาความสามารถในกิจวัตรประจำวันมากกว่ากลุ่มโรคอื่น ดังนั้นการจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ ควรให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งฟื้นฟูทางร่างกายให้ช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุด การเดิน การขับขี่พาหนะ ฟื้นฟูด้านอาชีพ และสร้างแรงจูงใจให้กลับไปเข้าสังคม
คำสำคัญ ผู้พิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว, ระดับความสามารถ, ICF
Article Details
References
2. The 2012 disability survey. National Statistical Office, Ministry of Information and Communication Technology 2014 [Internet]. [Cited 2019 Sep 23] Available from: http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาสวัสดิการสังคม/ความพิการ/สำรวจความพิการ_2555/6.%20รายงานฉบับสมบูรณ์.pdf
3. Bureau of Health Policy and Strategy, Office of Permanent Secretary Statistics. International Classification of Functioning Disability and Health 2012. Nonthaburi: Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health; 2012. [Cited 2019 Sep 23] Available from: http://thcc.or.th/ICF/BOOK_ICF.pdf.
4. Tongsiri S. Use of the International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF) to develop database of persons with disabilities (PWDs). Srinagarind Med J 2013; 28(1): 131-42.
5. World report on disability 2011[Internet]. Geneva, World Health Organization 2011. [Cited 2020 Jan 13] Available from: https://www.who.int/disabilities/world_report/2011/en/.
6. Tongsiri S. Functioning data based on the International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF) classification system: implications for multidisciplinary rehabilitation plans for persons with disabilities: Journal of Health Systems Research 2013; 7(1): 99-113
7. Vongpakorn P, Kovindha A. Employment Rate of Thais with Spinal Cord Injury and Predictive Factors: J Thai Rehabil Med 2014; 24(1): 28-36
8. Janejitvanich J, Ph.D. factors related to career success of persons with disabilities who are self-employed. Journal of Social Work Vol. 27 No.1 January-June 1019: 111-136