อุบัติการณ์และ อัตราตายของการเกิดภาวะกรดแลกติกในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยา metforminและปัจจัยที่สัมพันธ์ ในรพ.เชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

ปัญจพล กอบพึ่งตน
นลวันท์ เชื้อเมืองพาน

บทคัดย่อ

บทนำ (Introduction)


ยาเมทฟอร์มิน (metformin) เป็นยาที่ได้รับการแนะนำให้ใช้เป็นยาตัวแรกในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แม้ว่าจะเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง แต่ ยาดังกล่าวมีผลข้างเคียงที่สำคัญคือการเกิดกรดแลกติกในเลือด ภาวะดังกล่าวมีอุบัติการณ์การเกิดไม่มากนัก แต่หากเกิดขึ้นสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จึงเป็นที่มาของการทำการศึกษาครั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงอุบัติการณ์ อัตราตาย และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะกรดแลกติกในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยา metformin (metformin associated lactic acidosis, MALA) เพื่อนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยให้เหมาะสมมากขึ้น


วิธีการศึกษา (Methods)


เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานทุกรายที่ได้รับการรักษาด้วยยา metformin ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2562 ที่รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และอัตราตายของ MALA รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ ,อายุ ,ระดับ serum creatinine , ปริมาณยา metformin ที่ได้รับต่อวัน, การได้รับยา Angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACEI) หรือยา angiotensin-receptor blockers (ARB), การได้รับยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drug, NSAIDs)  และการได้รับยาขับปัสสาวะ ต่อ MALA


ผลการศึกษา (Results)


มีผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับ metformin ทั้งสิ้น 6,083 ราย เกิด MALA ทั้งสิ้น 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.87 ในผู้ป่วยที่เกิด MALA มีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วยถึงร้อยละ 75.47 และ ในผู้ป่วยดังกล่าวมีภาวะช็อกถึงร้อยละ 71.70 มีภาวะไตวายเฉียบพลันร่วมด้วย ร้อยละ 90.57 และ มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตทั้งสิ้นร้อยละ 11.32 ผู้ป่วยที่เกิด MALA มีอายุเฉลี่ย 58.77 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 47.17 ปัจจัยที่พบว่าสัมพันธ์กับการเกิด MALA ได้แก่ ระดับ serum creatinine และค่า eGFR พื้นฐาน, ปริมาณยา metformin ที่ได้รับต่อวัน, การได้รับยาลดความดันโลหิต กลุ่ม ACEI หรือ ARB และ การได้รับยาต้านการอักเสบในกลุ่ม NSAIDs


วิจารณ์และสรุปผล (Discussion and Conclusions)


การศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่า หากผู้ป่วยเบาหวาน มีค่า serum creatinine มากกว่า 1.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร, eGFR น้อยกว่า 45 มิลลิลิตรต่อนาที ควรใช้ยา metformin ด้วยความความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการให้ยา metformin มากกว่า 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs ขณะได้ยา metformin ในการรักษาโรคเบาหวาน เนื่องจากทำให้เสี่ยงต่อการเกิด MALA มากขึ้น


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 พิมพ์ครั้งที่ 3, ปทุมธานี : บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด;2560.
2. Boada Fernández Del Campo C, Rodríguez Jimenez C, García Saiz MM, Aldea Perona AM, Sanz Álvarez EJ, Fernández Quintana E, et al. Metformin-associated hyperlactacidaemia acidosis: Diagnosis rate in standard clinical practice and its relationship with renal failure. Rev Clin Esp. 2019;219(5):236-242.
3. Asif S, Bennett J, Marakkath B. Metformin-associated Lactic Acidosis: An Unexpected Scenario. Cureus. 2019;11(4):4397.
4. Angioi A, Cabiddu G, Conti M, Pili G, Atzeni A, Matta V, et al. Metformin associated lactic acidosis: a case series of 28 patients treated with sustained low-efficiency dialysis (SLED) and long-term follow-up. BMC Nephrol. 2018;19(1):77.
5. Huang W, Castelino RL, Peterson GM. Adverse event notifications implicating metformin with lactic acidosis in Australia. J Diabetes Complications. 2015;29(8):1261-5.
6. Yeh HC, Ting IW, Tsai CW, Wu JY, Kuo CC. Serum lactate level and mortality in metformin-associated lactic acidosis requiring renal replacement therapy: a systematic review of case reports and case series. BMC Nephrol. 2017;18(1):229.
7. Moioli A, Maresca B, Manzione A, Napoletano AM, Coclite D, Pirozzi N, et al. Metformin associated lactic acidosis (MALA): clinical profiling and management. J Nephrol. 2016;29(6):783-789.
8. Iftikhar H, Saleem M, Kaji A. Metformin-associated Severe Lactic Acidosis in the Setting of Acute Kidney Injury. Cureus. 2019;11(1):3897
9. Eppenga WL, Lalmohamed A, Geerts AF, Derijks HJ, Wensing M, Egberts A, et al. Risk of lactic acidosis or elevated lactate concentrations in metformin users with renal impairment: a population-based cohort study. Diabetes Care. 2014;37(8):2218-24.
10. Lazarus B, Wu A, Shin JI, Sang Y, Alexander GC, Secora A, et al. Association of Metformin Use With Risk of Lactic Acidosis Across the Range of Kidney Function: A Community-Based Cohort Study. JAMA Intern Med. 2018;178(7):903-910.
11. Tanner C, Wang G, Liu N, Andrikopoulos S, Zajac JD, Ekinci EI. Metformin: time to review its role and safety in chronic kidney disease. Med J Aust. 2019;211(1):37-42.
12. Prabhu RA, Mareddy AS, Nagaraju SP, Rangaswamy D, Guddattu V. Lactic acidosis due to metformin in type 2 diabetes mellitus and chronic kidney disease stage 3-5: is it significant?. Int Urol Nephrol. 2019;51(7):1229-1230.