มุมมองและความเชื่อเกี่ยวกับโรคและประสบการณ์การดูแลตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 กรณีศึกษาผู้ป่วยที่รับบริการใน รพ.สต.แม่ข้าวต้ม/รพ.โละป่าห้า

Main Article Content

โสภา - อยู่อินไกร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อศึกษามุมมองและความเชื่อเกี่ยวกับโรคและประสบการณ์การดูแลตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 ใน รพ.สต.แม่ข้าวต้ม/รพ.โละป่าห้า จำนวน 15 คน ญาติผู้ดูแลจำนวน 15 คน เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการที่ที่รพสต.แม่ข้าวต้มและ รพสต.โละป่าห้า  และกลุ่ม อสม  รวมจำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่ให้คำอธิบายความหมายของได้ไม่มากนัก การให้ความหมายของโรคตามประสบการณ์การได้รู้จักโรค จากคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข บางส่วนได้จากพบเห็นคนใกล้ชิด ญาติพี่น้อง คนในชุมชนป่วย สำหรับข้อบ่งชี้ของไตวาย พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องข้อบ่งชี้ของโรค  มีเพียงบางส่วนมองเรื่องของอาการที่แสดงให้เห็น ด้านสาเหตุของไตวาย พบว่า เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารที่มีรสเค็ม รสจัด ระยะเวลาการดำเนินโรคส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องระยะเวลาการดำเนินโรค มองระยะเวลาการดำเนินโรคในเรื่องของอาการที่เกิดขึ้น มุมมองของไตเสื่อมที่ส่งผลต่อร่างกาย พบว่าทำให้อ่อนเพลีย หน้าตา แขน ขา จะบวม หรือบวมทั้งตัว การควบคุมและรักษาโรค พบว่า มีการควบคุมอาหารที่มีรสเค็ม รสหวาน อาหารที่มีไขมัน เครื่องปรุงรส เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเพิ่มการออกกำลังกาย  ด้านรูปแบบการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว การจัดการเรื่องยา ส่วนใหญ่จัดยากินยาเอง การใช้สมุนไพร มีการใช้สมุนไพรจากคำบอกเล่า การโฆษณาชวนเชื่อ การเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลพบว่าไม่มีปัญหาในการเดินทาง ทางด้านมุมมองของญาติผู้ดูแลพบว่าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลผู้ป่วย


การจัดบริการในคลินิกในมุมมองของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและ อสม. พบว่ามีการแยกกลุ่มผู้ป่วยเพื่อการบริการที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม ครบถ้วนทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู โดยมี อสม.ช่วยคัดกรอง, เจาะน้ำตาลในเลือดก่อนพบเจ้าหน้าที่ มีการให้คำแนะนำในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเพื่อส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีการเยี่ยมบ้านกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค ปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการและบริหารงาน งบประมาณไม่เพียงพอในการดำเนินงานในกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วย สถานที่ในการให้บริการคับแคบและแออัด  ขาดสื่อสนับสนุนในการสื่อสารข้อมูลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มชาติพันธ์  ในด้านการรักษาพยาบาลพบว่ายังมีปัญหาด้านการส่งต่อเพื่อปรึกษาแพทย์ การดูแลต่อเนื่องในชุมชน การเยี่ยมบ้านยังไม่ครอบคลุมทุกคน จะเยี่ยมในกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหา ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค และผู้ป่วยที่ขาดนัด การประสานงานส่งต่อผู้ป่วยกับ รพ.สต.พื้นที่ และชุมชน ยังขาดการคืนข้อมูลให้กับชุมชนเพื่อการผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชน


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2560. 2560;2560: 752. จาก http://ddc.moph.go.th/th/th/site/office/view/boe
2. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การทบทวนความรู้เบาหวานและน้ำตาลในเลือดสูง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2548.
3. สุภารัตน์ พัฒนรังสรรค์. ตัวแบบการอธิบายความเจ็บป่วยด้วย “เบาหวาน”ในมุมมองของผู้ป่วยโรงพยาบาลลำพูน. วิทยานิพนธ์ สม: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
4. ศิริลักษณ์ ถุงทอง. การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;18(2): 11-24
5. กุลฤดี จิตตยานันต์. ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2556;23(3): 110-21
6. พัชราภรณ์ รอดสีเสน. ความต้องการข้อมูลสุขภาพของญาติผ้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม(พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557
7. ฉัตราพร สีบาล. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้มีภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. บทคัดย่อของงานวิชาการในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2560. 2560: 445
8. สมคิด สุภาพันธ์. การพัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในระยะ 3b ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยการจัดการรายกรณี โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. บทคัดย่อของงานวิชาการในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2560. 2560: 253