ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

Thanakorn Pakongwan
เด่นพงษ์ วงศ์วิจิตร
ภัทรพล มากมี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา


สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 5 พบความชุกของเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 8.9 ในปี 2557 อัตราตายโรคเบาหวานในปี 2556-2558 เท่ากับ 8.80, 15.48 และ 19.59 ตามลำดับ เช่นเดียวกับสรุปข้อมูลปี 2558-2560 ของโรงพยาบาลแม่จัน พบว่าโรคเบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตใน 5 อันดับแรก เป็นความท้าทายในการศึกษาอัตราการรอดชีพและปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วยโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ


วัตถุประสงค์


เพื่อศึกษาอัตราการรอดชีพ และปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย


วิธีการศึกษา


             การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างคือข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลแม่จัน จำนวน 1,751 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป Navicat เชื่อมโยงข้อมูลโปรแกรม HOSxP กับ คลังข้อมูลสุขภาพระดับอำเภอ และข้อมูลสถานะบุคคลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลมีมาตรฐานร้อยละ 98.3 อ้างอิงจากผลการตรวจประเมินคุณภาพเวชระเบียนผู้ป่วยโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ค่าโอกาสการรอดชีพแบบตารางชีพ ค่ามัธยฐานการรอดชีพ โดยวิธี Kaplan-Meier และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิตแบบพหุปัจจัยโดยใช้สมการถดถอยค๊อกซ์


ผลการศึกษา


             โอกาสการรอดชีพพบว่าในปีที่ 9 เป็นช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงสุดเท่ากับ 0.08 โดยผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีพได้มากกว่าปีที่ 9 เท่ากับ 78% มัธยฐานการรอดชีพของผู้ป่วย เท่ากับ 9.151 ปี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรอดชีพของผู้ป่วย ได้แก่ อายุของผู้ป่วย 60-79 ปี (Exp(B)=7.698; p=0.003), การขึ้นทะเบียนรักษาในคลินิกเฉพาะโรค (Exp(B)=4.281; p<0.001) และความต่อเนื่องในการรักษา (Exp(B)=1.362; p=0.002)


สรุปและข้อเสนอแนะ


             ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ อายุ, การขึ้นทะเบียนรักษาในคลินิกเฉพาะโรค และความต่อเนื่องในการรักษา ดังนั้นควรเน้นความสำคัญของการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในระยะแรก การติดตามให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และการขึ้นทะเบียนดูแลรักษาผู้ป่วยในคลินิกเฉพาะโรค

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. World Health Organization [Internet]. Diabetes. 2017 [cited 2017 Jan 3]. Available form: https://www.who.int/diabetes/en/.
2. World Health Organization [Internet]. Number of people over 60 years set to double by 2050; major societal changes required. 2015 [cited 2017 Jan 3]. Available from:https://www.who.int/mediacentre/news/releases/2015/older-persons-day/en/.
3. Biogenetech. การสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรคเบาหวาน [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ไบโอจีนีเทค; 2559 [สืบค้นเมื่อ 1 ม.ค. 2561]. จากhttps://www.biogenetech.co.th/wp-content/uploads/2016/02/การสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรคเบาหวาน.pdf.
4. สำนักโรคไม่ติดต่อ. ประเด็นสารรณรงค์เบาหวานโลก ปี 2559 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [สืบค้นเมื่อ 1 ม.ค. 2561]. จาก: https://thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease/ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก_ปี_2559.pdf.
5. สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2559[อินเตอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [สืบค้นเมื่อ 1 ม.ค. 2561]. จาก https://thaincd.com/document/file/download/paper-manual/Annual-report-2015.pdf.
6. โรงพยาบาลแม่จัน. สรุปสถิติข้อมูลรายงานของโรงพยาบาลแม่จัน[อินเตอร์เน็ต]. เชียงราย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย; 2560. [สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2561].จากhttps://maechanhospital.go.th/download.
7. การวิเคราะห์การรอดชีพ (Survival Analysis). เอกสารในฐานข้อมูลประชาชน FFC [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มี.ค. 2561]. จากhttps://www.mcpcm.com/uploads/subject/Survival_Analysis_TEXT.docx.
8. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. แนวทางการวิเคราะห์และแปรผลอัตราการรอดชีพ (Survival Analysis) โดยใช้โปรแกรม SPSS[อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มี.ค. 2561]. จาก https://med.swu.ac.th/preventive/images/CM.511/Survival_analysis.pdf.
9. สำนักโรคไม่ติดต่อ. แนวทางการดำเนินงานคลินิก NCD คุณภาพ[อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มี.ค. 2561]. จาก https://www.thaincd.com/good-stories-view.php?id=11003.
10. ชัญวลี ศรีสุโข. ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเสี่ยงเสียชีวิต[อินเตอร์เน็ต]. อุดรธานี: 2558 [สืบค้นเมื่อ 15 มี.ค. 2561]. จาก https://www.hfocus.org/content/2015/07/10296.
11. กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15( 3) : 256-268.
12. กฤษณา คำลอยฟ้า. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 2554; 17(1) : 17-30.
13. ประกาศิต โอวาทกานนท์ และวริยา สุนทรา. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบบกลุ่มในโรงพยาบาลทรายมูล. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2555; 27(3): 236-341.