การพัฒนาระบบการบริบาลผู้ป่วย ในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลพะเยา

Main Article Content

วันเพ็ญ มูลอินต๊ะ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา


           ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่มีช่วงในการรักษาที่แคบ


(Narrow Therapeutic Index) ต้องมีการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาวาร์ฟาริน โดยในการรักษาจะพิจารณาจากค่าการแข็งตัวของเลือด (International Normalized Ratio;INR) และต้องมีระบบการบริบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน    โรงพยาบาลพะเยาได้เริ่มดำเนินการวาร์ฟารินคลินิกอย่างเป็นระบบเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ การบริบาลผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟารินตั้งแต่ ปี 2556-2559 เป็นแบบให้คำปรึกษาหลังพบแพทย์ ( post counseling ) โดยตรวจสอบขนาดยาวาร์ฟารินกับค่า INR การประเมินภาวะแทรกซ้อนโดยทำเป็นรายบุคคล ต่อมาตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบบริบาลโดยความร่วมมือของอาจารย์เภสัชกรมหาวิทยาลัยพะเยาโดยมีการพัฒนาให้คำปรึกษาแบบ pre-post  counseling


วัตถุประสงค์


  1. เพื่อลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน

  2. เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วย

  3. เพื่อเพิ่ม % INR in target

  4. เพื่อเพิ่ม % TTR (Time in therapeutic range : ระยะเวลาที่ค่า INR อยู่ในช่วงรักษามีค่าสูงสุด )

วิธีการศึกษา


             การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่มีการกำหนดสิ่งแทรกแซง  โดยเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า


การแทรกแซงที่ใช้ในการศึกษานี้  คือ  การให้คำแนะนำการใช้ยาวาร์ฟารินแก่ผู้ป่วยก่อนพบแพทย์ (pre-counseling)          การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาวาร์ฟาริน   และการดูความร่วมมือของผู้ป่วยในการใช้ยาวาร์ฟาริน  โดยประชากรได้รับสิ่งแทรกแซงทุกคน


ผลการศึกษา


                ผลตัวชี้วัดเปรียบเทียบก่อนและหลังพัฒนาระบบบริบาล % INR in target เพิ่มขึ้น  ภาวะแทรกซ้อนลดลง การให้ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยลดลง


สรุปและวิจารณ์ผล


             ผลจากการพัฒนาระบบบริบาลผู้ป่วย ในคลินิกวาร์ฟารินทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุม INR ของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการใช้ยาวาร์ฟารินเพิ่มขึ้น ส่วนการให้ความร่วมมือในการใช้ยาที่ลดลงอาจเกิดจากการลงบันทึกข้อมูลในระบบไม่ครบถ้วนทำให้รายงานผลผิดพลาดและไม่มีแนวทางที่ชัดเจน


 


คำสำคัญ การบริบาลผู้ป่วย ในคลินิกวาร์ฟาริน   %TTR    %INR    pre-counseling

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Chiquette EC, Amato MG, Bussey HI. Comparison of anticoagulation clinic with usual medical care anticoagulation control, patient outcomes and health care coste. Arch Intern Med 1998;158:1641-7.
2. Hirsh, J., Fuster, V., Ansell, J., & Halperin, J. L. (2003). American Heart Association/American College of Cardiology Foundation guide to warfarin therapy.Journal of American College of Cardiology, 41,1633-1652.
3. Klasco RK (Ed) : DRUGDEX ® system (electronic version). Thromson Micromedex, Greenwood village, Colorado, USA. Available at: https:// www.thromsonhc.com (cite: 08/05/2008)
4. Rosendaal FR,Cannegieter SC,van der Meer FJ,Brist E.A method to determine the optimal intensity of oral anticoagulant therapy.Thromb Haemost 1993;69(3):236-9
5. สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2554). แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน พ.ศ.2553. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
6. ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์. (2546). ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด. ใน จุฑามณี สุทธิสีสังข์และรัชนี เมฆมณี (บก.), เภสัชวิทยาเล่ม 1 (หน้า420-429). กรุงเทพฯ: นิวไทยมิตรการพิมพ์.
7. นพ.ธีรพงศ์ โตเจริญโชค,รศ.นพ.ธีรวิทย์ พันธุ์ชัยเพชร.คู่มือการให้ยา Warfarin และ IE prophylaxis ในผู้ป่วยโรคศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก:7
8. สุภารัตน์ วัฒนสมบัติ.ยาต้านการแข็งตัวของเลือด: Warfarin บทความฟื้นฟูวิชาการสำหรับการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์(on-line).วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ ปีที่5 เดือนกรกฎาคม 2553:87-95