ผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 2 โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

บุษบา อัครวนสกุล
เครือวัลย์ แวงวรรณ์
นงเยาว์ มลคลอิทธิเวช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา


ผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวต้องได้รับการรักษาเบื้องต้น คือการใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อช่วยชีวิตให้ปลอดภัย  การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนเป็นปัญหาสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต  หากช่วยเหลือไม่ทันอาจทำให้สมองขาดออกซิเจน  หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเสียชีวิตได้


วัตถุประสงค์


เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดและการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 2 โรงพยาบาลเชียงรายประชานะเคราะห์                                                                                    
วิธีการศึกษา


การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบ efficacy research  รูปแบบ  Histotical  controlled ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม  2 โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ช่วงเดือนเมษายน 2560 ถึงเดือนเมษายน 2561 กลุ่มตัวอย่าง 362 ราย แบ่งเป็นกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติ 181 ราย และกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติ 181 ราย ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้ของสมาคมพยาบาลออนทาริโอ 5 ขั้นตอน วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ exact probability และ t-test


ผลการศึกษา  


ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด พบว่ากลุ่มตัวอย่างก่อนใช้แนวปฏิบัติเกิดอุบัติการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด ร้อยละ 12.15 เทียบกับกลุ่มตัวอย่างหลังใช้แนวปฏิบัติเกิดอุบัติการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดร้อยละ  4.42 (P = 0.005)  และการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 2 พบว่าพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ  ส่งผลทำให้อุบัติการณ์การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลและข้อเสนอแนะ                                                                                                                                                                                                                                       


การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด สามารถช่วยลดอุบัติการณ์การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพยาบาลวิชาชีพสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้มีความสะดวก และเหมาะสมต่อการนำไปใช้ ดังนั้นควรส่งเสริมให้ทุกหอผู้ป่วยใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่ใส่ท่อช่วยหายใจ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

REFERENCES
1. Heck K. Decreasing ventilator associated pneumonia in the intensive care unit : sustainable comprehensive quality improvement program. American Juornal of Infection Control. 2012; 40: 877-879.
2. Silva P.S. Fonseca M.C. Unplaned Endotracheal Extubations in the Intensive Care unit:
Systematic review, critical appraisal, and evidence-based recommendations.
Society of Critical care Anesthesiologists. 2012; 14: 1003-1014.
3. Medical department of Chiangrai prachanukoh hospital. Risk profile statistical report 2017. Chiang Rai: prachanukoh hospital; 2017.(in Thai)
4. Chiangrai prachanukoh hospital. Clinical Practice Guidelines for Unplanned Endotracheal Extubation Prevention Chiangrai prachanukoh hospital 2016. Chiangrai: prachanukoh hospital; 2016.(in Thai)
5. Registered Nurses’Association of Ontario. Toolkit: Implementation of Clinical Practice
Guideline,Toronto, Canada. 2002. retrieved on 10/05/2017. from http://www. Rnao.org
6. AGREE Collaboration. Appraisal of guidelines for research and evaluation [AGREE
instruments 2003]. retrieved on 14/04/2017. from http://www.agreecollaboration.org
7. Nakrit B,Namvongprom A,Pakdevong N. Unplanned Extubation and Duration of Mechanical Ventilation in Critically Ill Patient on Evidenced Based Nursing Practice. Kuakarun journal of Nursing. 2015; 22: 129-143.
8. Navarat W, Prittipongpun P, Srianurak P,Kanyakamin P, Bohplian S.Effect of PMK
Unplanned Extudation Prevention Program onExtubation Rate in Medical Wards, Phamongkutklao Hospital. Journal of The Royal Thai Army Nurse. 2017; 18: 167-175. (in Thai)
9. Kiekkas P,Aretha D, Panteli E, Baltopoulos G. Unplanned extubation in critically ill aaduits :
Clinical review. Nursing in Critical Care. 2012; 18: 123-134.(in Thai)
10. Saengsri S.The Development and Evaluation of Clinical Nursing Practice Guideline for Prevention Unplaned Extubation in Surgical Intensive Care Unit Songklanagarind Hospital. Songkla: Songkla University; 2012.(in Thai)