การศึกษาภาวะการรับกลิ่นและปัจจัยที่มีผลต่อการรับกลิ่นในผู้สูงอายุชาวไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : ความสามารถในการรับกลิ่น ทำให้มนุษย์สามารถแยกแยะวัตถุและสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยเฉพาะการแยกวัตถุที่มีอันตรายต่อร่างกาย เช่น แก๊สพิษ ควัน หรืออาหารที่เน่าเสีย การรับกลิ่นที่ลดลงจึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและยังเป็นอาการแสดงแรกของโรคความเสื่อมของระบบประสาททั้งหลาย เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน เป็นต้น โดยการรับกลิ่นจะลดลงมากขึ้นเมื่อมีอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมากได้รับผลกระทบจากปัญหาการดมกลิ่น งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาถึงความสามารถและปัจจัยที่มีผลต่อการรับกลิ่นในกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อใช้พัฒนาเครื่องมือในการตรวจสอบการดมกลิ่น และเฝ้าระวังปัญหาเรื่องการดมกลิ่นต่อไป
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Prospective cross-sectional analytical study โดยศึกษาในอาสาสมัครที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 80 ราย จะได้รับการตรวจทางจมูกด้วยวิธี anterior rhinoscopy และการทำ nasal peak flow test จากนั้นจะคัดกรองภาวะซึมเศร้าด้วยแบบทดสอบ 9 คำถาม และทดสอบภาวะความจำเสื่อมโดยแบบทดสอบ Thai MMSE 2002 สำหรับการทดสอบการดมกลิ่นประกอบไปด้วย 1. ความสามารถในการรับกลิ่น(smell threshold) ด้วยชุดทดสอบ N-butanol test ด้วยวิธี ascending method 2. ความสามารถในการจำแนกกลิ่น (smell identification) ด้วยกลิ่นจำนวน 10 กลิ่น
ผลการศึกษา: อาสาสมัครจำนวน 80 ราย คิดเป็นเพศชาย 38 คน (47.5%)และเพศหญิง 42 คน(52.5%) อายุเฉลี่ย 65.9 ปี (+/-8.26 SD) โดยมีอายุต่ำสุด 51 ปีและสูงสุด 84 ปี พบว่าค่าการรับกลิ่น N-butanol อยู่ในขวดที่ 7 (27.5%) และค่าการจำแนกกลิ่นโดยมีคะแนนเฉลี่ยในการตอบถูกคิดเป็น 8.66( +/- 1.4 SD) โดยกลิ่นที่ดมได้ถูกต้องมากที่สุดคือ กลิ่นน้ำมันเครื่อง และกลิ่นที่ตอบถูกน้อยที่สุดคือกลิ่นมะลิ
และเมื่อนำปัจจัยอันได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ ภาวะซึมเศร้าและความจำเสื่อมมาศึกษา พบว่าอายุเป็นปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการจำแนกกลิ่น (p=0.015) โดยอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้การจำแนกกลิ่นลดลง โดยเฉพาะเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป
สรุปผล: จากงานวิจัยพบว่า เมื่อควบคุมปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรับกลิ่น อายุที่เพิ่มมากขึ้นมีผลทำให้ความสามารถในการรับและจำแนกกลิ่นลดลง
Article Details
References
2. Murphy C1, Schubert CR, Cruickshanks KJ, Klein BE, Klein R, Nondahl DM. Prevalence of olfactory impairment in older adults. JAMA 2002 Nov 13; 288(18) :2307-12.
3. Pinkeaw B, Assanasen P, Bunnag C. Smell discrimination and identification score in Thai adults with normosmia. Asian Biomedicine 2015; 9:789-5.
4. Chaiyasate S, Roongrotwattanasiri K, Hanprasertpong N, Fooanant S. Normal smell identification score and N-Butanol threshold in Thai adults. J Med Assoc Thai 2013;96(3):324-8.
5. Sohrabi HR, Bates KA, Rodrigues M, Taddei K, Laws SM, Lautenschlager NT, Dhaliwal SS, Johnston AN, Mackay-Sim A, Gandy S, Foster JK, Martins RN. Olfactory dysfunction is associated with subjective memory complaints in community-dwelling elderly adults. J Alzheimers Dis 2009;17(1):135-142
6. Donald A. Leopold, Eric H. Holbrook. Physiology of olfaction. Cumming otolaryngology head and neck surgery 2015; 39: 640
7. Cain S. William, Gent F. Janneane, Goodspeed B. R, Leonard G. Evaluation of olfactory dysfunction in Connecticus Chemoreceptor Clinical Research center. Laryngoscope 1988; 98: 83-88
8. Toledano A., Ruiz C., Navas C.,Herraiz C. et al. Development of short olfactory test based on the Connecticus test (CCCRC). Rhinology 2009;47:465-469
9. Doty L. Richard, Cameron Leslie E. Sex differences and reproductive hormone influences on human odor perception. Physiology & Behavior 2009;97:213-228
10. Katotomichelakis M., Balatsouras D., Tripsianis G, Davris S. et al. The effect of smoking on the olfactory function. Rhinology 2007;45:273-280