ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา
โรคเบาหวานถือเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ต้องเฝ้าระวัง และนำไปสู่โรคแทรกซ้อนมากมาย ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบร่างกายบนอวัยวะที่สำคัญ และเพิ่มความเสี่ยงของการตายก่อนวัยอันควร
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาคุณลักษณะทั่วไป ทัศนคติเกี่ยวกับเบาหวาน การปฏิบัติตัว และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 626 คน และใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Simple and Multiple Logistic Regression เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ α < 0.05
ผลการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ (ร้อยละ 73.2) เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64.7) อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 55.4) อายุเฉลี่ย 60.5 ปี (S.D.=10.23) เชื้อชาติไทย (ร้อยละ 93) และสมรสแล้ว (ร้อยละ 76.5) ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 60.5) อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 44.9) รายได้รวมครอบครัวต่อเดือนส่วนใหญ่น้อยกว่า 3,000 บาท (ร้อยละ 46.0) รายได้รวมครอบครัวต่อเดือนเฉลี่ย 4,557 บาท (S.D.=5,805) ส่วนใหญ่เดินทางมารับการรักษาโดยรถจักรยานยนต์ (ร้อยละ 56.1) ระยะทางการเดินทางเฉลี่ย 6.61 กม. (S.D.=5.05) ระยะเวลาการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานเฉลี่ย 8.5 ปี (S.D.=5.89) กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี (ร้อยละ 100.0) ส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่ยวกับโรคเบาหวานปานกลาง (ร้อยละ 54.8) และมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวระหว่างการรักษาโรคเบาหวานดี (ร้อยละ 91.7) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีรายได้รวมครอบครัวต่อเดือน 3,000 - 5,999 บาท และรายได้รวมครอบครัวต่อเดือน 6,000 - 8,999 บาท มีโอกาสระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงมากกว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีรายได้รวมครอบครัวต่อเดือนตั้งแต่ 9,000 บาทขึ้นไป 2.15 เท่า (95%CI=1.12-4.11) และ 2.59 เท่า (95%CI=1.24-5.42) ตามลำดับ และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมปานกลาง และแรงสนับสนุนทางสังคมดี มีโอกาสระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงมากกว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมต่ำ 1.83 เท่า (95%CI=1.01-3.31) และ 2.01 เท่า (95%CI=1.10-3.66) ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาสามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะ และมาตรการในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และสร้างความตระหนักให้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อโรคเบาหวานเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัว และการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสม
Article Details
References
2. วรรณี นิธิยานันท์. คนไทยป่วยเบาหวานพุ่ง ป่วยแล้ว 5 ล้าน [Internet]. สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. 2559 [cited 2018 Aug 12]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2016/11/12992
3. ศูนย์เบาหวานศิริราช. ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานที่หลอดเลือดขนาดเล็ก [Internet]. 2558. Available from: http://www.si.mahidol.ac.th/sdc/admin/knowledges_files/25_44_1.pdf
4. องค์การอนามัยโลก. โรคเบาหวาน [Internet]. องค์การอนามัยโลก. 2560 [cited 2018 Aug 15]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs312/en/
5. Cho NH. Global estimates of diabetes prevalence for 2017 and projections for 2045. Elsevier [Internet]. 2018;138:271–81. Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0168822718302031
6. องค์การอนามัยโลก. การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคเบาหวาน [Internet]. องค์การอนามัยโลก. 2559 [cited 2018 Dec 15]. Available from: http://www.who.int/campaigns/world-health-day/2016/en/
7. สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ. ความจริงเกี่ยวกับโรคเบาหวานในปี 2560 [Internet]. สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ. 2560 [cited 2018 Mar 31]. Available from: https://www.idf.org/about-diabetes/what-is-diabetes.html
8. สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ. สถิติผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานจากทุกภูมิภาคทั่วโลก [Internet]. สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ. 2557 [cited 2018 Mar 3]. Available from: http://www.diabetesatlas.org/
9. ดนยา สุเวทเวทิน. แพทย์เตือนระวังโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน [Internet]. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 2560 [cited 2018 Mar 2]. Available from: http://www.thaihealth.or.th/microsite/content/5/ncds/181/39745-แพทย์เตือนระวังโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน.html
10. วิชัย เอกพลากร. สถานะสุขภาพประชาชนไทย [Internet]. 2559. Available from: http://thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease/การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย_ครั้งที่_5_NHES_5.pdf
11. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สสจ.เชียงราย สำรวจพบผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น [Internet]. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2554 [cited 2018 Aug 15]. Available from: http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=36659
12. คลังข้อมูลสุขภาพ. การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ [Internet]. คลังข้อมูลสุขภาพ. 2561 [cited 2018 Mar 31]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11
13. คลังข้อมูลสุขภาพ. อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน [Internet]. คลังข้อมูลสุขภาพ. 2561 [cited 2018 Mar 3]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd
14. Nair TSS and. Factors associated with poor control of type 2 diabetes mellitus. J Diabetol [Internet]. 2011;3(1):1–10. Available from: http://eprints.manipal.edu/2141/1/article_Sanal.pdf
15. งานเวชระเบียนโรงพยาบาลดอยหลวง. ข้อมูลผู้ป่วยนอก. 2561.
16. นิยม ประโกสันตัง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 [Internet]. วารสารวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553. Available from: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=367813&query=Array&s_mode=Array&date_field=date_create&date_start=2555&date_end=2561&limit_lang=&limited_lang_code=tha&order=&order_by=title&order_type=ASC&result_id=48&maxid=95
17. Bloom B. Learning for mastery. Eval Comment. 1968;1(2):1–12.
18. McLeod S. Likert Scale Likert Scale Examples How can you analyze data from a Likert Scale ? Retrieved from https//www.simplypsychology.org/likert-scale.html 2/2. 2008;1–3.
19. Turner R, Carlson LA. Indexes of Item-Objective Congruence for Multidimensional Items Official Journal of the International Test Commission. 2003;(June).
20. Tavakol M, Dennick R. Making sense of Cronbach’s alpha. Int J Med Educ. 2011;2:53–5.
21. ประชุมพร กวีกรณ์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559;4(3):308–24.
22. สุปรียา เสียงดัง. Self - Care Behaviors of Patients with Uncontrolled DM. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารรสุขภาคใต้ [Internet]. 2560;4(1):191–204. Available from: file:///C:/Users/NBAcer/Downloads/74875-178365-1-SM.pdf
23. มาดีฮะห์ มะเก็ง. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามวิถีมุสลิม ต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและระดับน้ำตาล ในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมที่ควบคุม ระดับน้ำาตาลในเลือดไม่ได้และมีโรคร่วม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561;38:46–62.
24. กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่2. วารสารพยาบาลทหารบก [Internet]. 2557;15(3):256–68. Available from: https://www.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30627/26427
25. Yan Bi DZ. The status of glycemic control: A cross-sectional study of outpatients with type 2 diabetes mellitus across primary, secondary, and tertiary hospitals in the jiangsu province of China. Int Peer-Reviewed J Drug Ther [Internet]. 2011;32(5):973–83. Available from: https://www.clinicaltherapeutics.com/article/S0149-2918(10)00165-7/pdf
26. วรรณรา ชื่นวัฒนา. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี [Internet]. 2557;6(3):163–70. Available from: http://www.ptu.ac.th/journal/data/6-3/6-3-18.pdf
27. กัณฑิมา อยู่รวม. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของข้าราชการตำรวจที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดได้. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2561;2(10):41–50.
28. ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [Internet]. 2017;(May). Available from: http://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4946/hsri-journal-v12n3-p515-522.pdf?sequence=1&isAllowed=y