The Effect of Ginger Powder Drinking on Nausea and Vomiting in Cancer Patient’s receiving Chemotherapy in Male Surgical Ward 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: อาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุด ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อผู้ป่วย และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของการดื่มขิงผง โดยการเปรียบเทียบระดับความทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้อาเจียน และจำนวนครั้งของการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการศึกษาโดยใช้การวัดซ้ำในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนเดียวกัน โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบบทดลองนี้เป็นผู้ป่วยมะเร็งระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินปัสสาวะที่ได้รับยาเคมีบำบัด ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ระหว่างเดือนมิถุนายน 2559 ถึงเดือนพฤษภาคม 2561 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์จำนวน 40 คน โดยก่อนการดื่มขิงผง กลุ่มตัวอย่างที่มารับยาเคมีบำบัดจะได้รับการพยาบาลตามปกติ หลังจากนั้นกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดิมมารับยาเคมีครั้งต่อไป ผู้วิจัยจะให้ข้อมูลเรื่องการดื่มขิงผง และเมื่อได้รับการยินยอมเข้ารับการทดลองดื่มขิงผง ผู้วิจัยจะให้ผู้ป่วยดื่มขิงผงชงในน้ำแบ่งดื่มวันละ 4 ครั้ง ผู้วิจัยประเมินคะแนนระดับความทุกข์ทรมาน และจำนวนครั้งของการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนทุกวัน เป็นระยะเวลา 7 วัน และนำมาเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความทุกข์ทรมาน และจำนวนครั้งของการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ทั้งก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติวิลคอกซัน
ผลการวิจัย: ในผู้ป่วย 40 คน คะแนนเฉลี่ยระดับความทุกข์ทรมานของอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด หลังทดลองดื่มขิงผงลดลงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0 (0-5.29) VS 0.71 (0.29-5.86) ; p<.001 และจำนวนเฉลี่ยของการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนลดลงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0 (0-6.86) VS 0.64 (0.14-6.57) ; p<.001)
สรุปผลการวิจัย: การดื่มขิงผงช่วยทำให้ระดับความทุกข์ทรมานและจำนวนครั้งของการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
คำสำคัญ: ขิงผง อาการคลื่นไส้อาเจียน การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
Article Details
References
1. Prisutkul A, Sukuntapan M, Tippawan A, Dechaphunkul A, Pripetchkaew. Symptom Expiriences, Symptom Mansgement Strategies and Outcome in Patients Undergoing Chemotherapy. Thai Cancer Journal. 2013;33(3):98-110.
2 Charupronprasit R, Sirirat B, Sumtip J. STATISTICAL THAILAND 2017. Strategy and Planning Division Ministry of Public Health [internet].2017[cited 2018 May 18]; Available from: [about 142p.]http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health%20stratistic%202560.pdf .
3. Charoentum C. Complications of cancer therapies. In: Chitapanarux I, editor. Effects of cancer treatment Chiangmai. Trick trint Printing House; 2014. P.9-16
4. Worawut N, Khachanratanadech P, Mongkhonsuk J, Limpakorn S, Rochprasertkit S, Sukprasert A. Cancer Science textbook 1 . Bangkok. Chulalongkorn University Printing House; 2003.
5. Thongprasert S. Cancer Chemotherapy. Chiangmai: Faculty of Medicine Chiangmai University; 1993.
6. Chewaskulyong B. Management of nausea & vomiting in cancer patient . In Thongprasert S, Napaphan S, editor . Practical Points in oncology. Chiangmai ; 2002:381-394.
7. Jin Z, Lee G, Kim S, Park CS, Park YS, Jin YH. Ginger and its pungent constituents non-competitively inhibit serotonin currents on visceral afferent neurons. Korean J Physiol Pharmacol. 2014;18(2):149-53.
8. Ryan JL, Heckler CE, Roscoe JA, Dakhil SR, Kirshner J, Flynn PJ, et al. Ginger (Zingiber officinale) reduces acute chemotherapy-induced nausea: a URCC CCOP study of 576 patients. Support Care Cancer. 2012;20(7):1479-89.
9. Suthisarn K, Juangpani C, Soodsang S, Jantawong S, Petsorn B. Effects of Ginger juice on reducing nausea and vomiting in cancer patient’s receiving chemotherapy.[internet].Bangkok; 2014 [cited 2015 Nov1]. Available from http://irj.kku.ac.th/2015/images/article/research210215_212053.doc. and https://www.gotoknow.org/posts/567662
10. Yekta ZP, Ebrahimi SM, Hosseini M, Nasrabadi, Sedighi S, Surmaghi M-HS, Madani H. Ginger as a miracle against chemotherapy-induced vomiting. Iran J Nurs Midwifery Res. 2012;17(5):325–329
11. Wadikar DD, Premavalli KS. Optimization of Ginger-Based Ready-to-Drink Appetizer by Response Surface Methodology and Its Shelf Stability. Journal of Food Processing and Preservation. 2012;36(6):489-96
12. Lee J, Oh H. Ginger as an Antiemetic Modality for Chemotherapy-Induced Nausea and Vomiting: A Systematic Review and Meta-Analysis. Oncology Nursing Forum. 2013; 40:163-170.
13. Van Tilburg MA, Palsson OS, Ringel Y, Whitehead WE. Is ginger effective for the treatment of irritable bowel syndrome? A double blind randomized controlled pilot trial. Complement Ther Med. 2014;22(1):17-20.