Integrated health care results on clinical outcomes in patients with renal disease level 3 from diabetes, Mae Lao Hospital

Main Article Content

Punyanin Khuanphet

บทคัดย่อ


ผลการดูแลสุขภาพแบบผสมผสานต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมระดับ 3


จากโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแม่ลาว




ปุณญณิน  เขื่อนเพ็ชร์  พยม.1  รุ้งลาวัลย์ กาวิละ พย.2  มนัชยา มรรคอนันตโชติ พย.2




งานคลินิกโรคเรื้อรัง  โรงพยาบาลแม่ลาว จังหวัดเชียงราย




บทคัดย่อ


ความสำคัญ: โรคเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย(End stage renal disease) ที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตมากที่สุดถึงร้อยละ 34 ซึ่งการค้นหาคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงให้เข้าสู่การวินิจฉัย และให้การดูแลได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ ผู้วิจัยในฐานะหนึ่งในทีมสุขภาพ จึงสนใจที่จะศึกษาผลการดูแลสุขภาพแบบผสมผสานต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมระดับ 3 จากโรคเบาหวาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางวางแผนส่งเสริมการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อไป


วัตถุประสงค์: : 1.เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานและค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ระดับซีรั่มครีเอตินิน และอัตราการกรองของไตภายในกลุ่มทดลอง


                 2.เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานและค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ระดับซีรั่มครีเอตินิน และอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง


รูปแบบศึกษา  สถานที่ และผู้ป่วย: เป็นการศึกษากึ่งทดลอง(Quasi - experimental research design) เพื่อศึกษาผลการดูแลสุขภาพแบบผสมผสานต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมระดับ 3 จากโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแม่ลาว จังหวัดเชียงราย แบบ 2 กลุ่มวัดผลก่อนและหลัง ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานและมีภาวะไตเสื่อมระดับ 3 โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวาน ตามคุณสมบัติที่กำหนด ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน  64  คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 32 คน โดยการจับฉลากเพื่อเลือกกลุ่ม ระยะดำเนินการตั้งแต่ กรกฎาคม 2560 ถึง ธันวาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล คู่มือการดูแลสุขภาพแบบผสมผสานและแบบบันทึกพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อม สื่อนำเสนอภาพนิ่งเรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมและตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหาร สาธิต โดยในสัปดาห์ที่ 1 กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจะได้รับการประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม จากนั้นกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลและความรู้ตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองแบบผสมผสาน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรค ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคไตเสื่อมจากเบาหวาน การควบคุมอาหารและเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและชะลอความเสื่อมของไต ได้แก่ การจำกัดโซเดียมในอาหาร การนำพืชผักพื้นบ้านมาแต่งกลิ่นปรุงรสอาหารทดแทนการใช้ผงชูรส ร่วมกับการออกกำลังกายและใช้ยาอย่างเหมาะสม โดยมีการตั้งเป้าหมายและกำกับตนเอง จากนั้นในสัปดาห์ที่ 2-11 กลุ่มทดลองดูแลสุขภาพตนเองที่บ้าน โดยในสัปดาห์ที่ 2, 6,11 ผู้วิจัยและทีมสุขภาพ โทรศัพท์ติดตามเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่เหมาะสม ในสัปดาห์ที่ 12 ประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมและประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ระดับซีรั่มคริเอตินิน อัตราการกรองของไต ด้วยเครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานของโรงพยาบาล วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติบรรยาย การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทีอิสระในกรณีข้อมูลผ่านข้อตกลงเบื้องต้น ส่วนข้อมูลที่ไม่ผ่านข้อตกลงเบื้องต้นใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test


ผลการศึกษา:


หลังได้รับการสนับสนุนให้ความรู้การดูแลสุขภาพแบบผสมผสาน กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p< 0.001) โดยพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุม สำหรับค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ทางคลินิกของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p< 0.001)โดยพบว่าค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ระดับซีรั่มคลิเอตินินของกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p <0.001) และอัตราการกรองของไตมีค่าเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p <0.001) ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าซีรั่มคลิเอตินินลดลงไม่แตกต่างกันทางสถิติ(P>0.05) และอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ(P>0.05)


ข้อเสนอแนะ การสนับสนุนการจัดการดูแลสุขภาพแบบผสมผสาน สามารถนำไปใช้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆโดยส่งเสริมให้มีการตั้งเป้าหมายในการกำกับประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องในระยะยาวเพื่อประเมินความยั่งยืนของผลการดูแลสุขภาพแบบผสมผสานต่อไป


คำสำคัญ การดูแลสุขภาพแบบผสมผสมไตเสื่อมระดับ 3


 


Integrated health care results on clinical outcomes in patients with renal disease level 3 from diabetes, Mae Lao Hospital


Punyanin Khuanphet (M.N.S.)1, Runglawan Kawila (B.N.S.)2, Manachaya Makanantachote (B.N.S.)3 Chronic diseases clinic, Mae Lao Hospital, Chiang Rai


Abstract


Significance: Diabetes is an important cause of End stage renal disease which needs the most renal replacement therapy up to 34%. Screening for potential patients into diagnosis and quick treatment can slow down the kidney degeneration. The authors as members of health team interest in study of integrated health care results on clinical outcomes in patients with renal disease level 3 from diabetes to use the information to plan health supporting plan to slow down the kidney degeneration.


Objective:    1.To compare difference between mean score of self-management behavior for kidney degeneration from diabetes and mean clinic results such as blood sugar levels after 8 hours fasting, Serum creatinine levels, and glomerular filtration rate (GFR) in an experimental group.


                   2.To compare difference between mean score of self-management behavior for kidney degeneration from diabetes and mean clinic results such as blood sugar levels after 8 hours fasting, Serum creatinine levels, and GFR of patients with diabetes type 2 who cannot control blood sugar level in control group and experimental group.


Methodology, location, and patients: This study is a Quasi - experimental research design to study integrated health care results on clinical outcomes in patients with renal disease level 3 from diabetes, Mae La Hospital, Chiang Rai as 2 groups which measured before and after in diabetes and renal disease level 3 patients by purposive sampling. Samples are from elderly who come to diabetes clinic, there are 64 persons who accorded to the requirement. They are separated into the control group and experimental group, 32 per each randomly. It is done from July 2017 to December 2017. Tools in this study are personal information form, integrated health care manual, and health behavior form for slowing down kidney degeneration. Then, the control group gets nursing and knowledge normally. While the experimental group is supported for integrated health care knowledge which consists of disease knowledge, risk and support factors of diabetic kidney disease, food control, and how to choose proper food to control blood sugar level and slow down kidney degeneration such as sodium limitation, use of local vegetables instead of MSG, exercise, and proper use of medicine by targeting and self-monitoring. Then, in 2nd – 11th week, the experimental group take care of themselves at homes. In 2nd, 6th, and 11th week, the authors and health team call to stimulate patients to continue proper behaviors. In the 12th week, evaluate self-management behavior to slow down kidney degeneration and evaluate clinic results of control and experimental groups which consists of blood sugar levels after 8 hours fasting, Serum creatinine levels, and glomerular filtration rate (GFR) by calibrated tools according to hospital’s standard. The analysis is done by Descriptive statistics also the general information. Hypothesis testing is done by independent T-Test. The information which not meet the preliminary agreement is analyzed by Wilcoxon Signed Ranks Test.


Result:


After the support for integrated health care knowledge, the control and experimental groups have higher mean score of health care behaviors to slow down kidney degeneration significantly according to the statistic (p< 0.001). The experimental group has high mean score than the control group for mean clinic results. Moreover, the blood sugar level of the experimental group reduces significantly according to the statistic (p< 0.001). The mean of blood sugar level and Serum creatinine of the experimental group more reduces than the control significantly according to the statistic (p< 0.001). Moreover, GFR increases more than the control group significantly according to the statistic (p< 0.001). The control group has no difference in Serum creatinine according to the statistic (P>0.05) also GFR (P>0.05).


Suggestions:


The support of integrated health care can be applied to other patients by supporting for target to evaluate health care behavior to control disease continuously and monitor related results in the long term to evaluate the sustainability of integrated health care results further.


Keywords: Integrated Health Care, Renal Disease Level 3


 


 



Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เอกสารอ้างอิง
1.Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K;
the Thai-SEEK Group. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the
Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010 ; 25 : 1567-75
2.ถนอม สุภาพร และคณะ. รายงานข้อมูลผลการลง ทะเบียนรักษาทดแทนไต สมาคมโรคไตแห่งประเทศ
ไทย. วารสารสมาคมโรคไต 2549;13: 45-59
3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต].นนทบุรี:สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวง
สาธารณสุขสาเหตุของโรคไตวาย.2556 ; [เข้าถึงเมื่อ 2560 มิถุนายน 14] เข้าถึงได้จาก
http:/bps.ops.moph.go.th/index:php?mod=bps &doc/.
4. วรางคณา พิชัยวงศ์. โรคไตจากเบาหวาน. วารสารกรมการแพทย์ 2015; Suppl 1 : S19-24.
5.โรงพยาบาลแม่ลาว สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมระดับ 3. เชียงราย: งานข้อมูล โรงพยาบาล
แม่ลาว; 2559.
6.ศิริลักษณ์ ถุงทอง. การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลใน
เลือดได้.วารสารพยาบาลทหารบก 2017;18 Suppl 2 : S17-24.
7.สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรค
ไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น.กรุงเทพมหานคร:สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและสำนักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ ; 2555.
8.จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก.สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด;2552
9.American diabetes association. Standards of medical care in diabetes 2012. Diabetes
Care Journal 2012 :11-63.
10.Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. (1991). Self management methods. In F. H. Kanfer, &
A. Goldstein (Eds.). Helping people change: A textbook of methods 1991 ; 305-360.
11.Glasgow, R. E., Emont, S., & Miller, D. C. Assessing delivery of the five A’s for patient-
centered counseling. Health Promotion International 2006; 21: 245-255.
12. สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แนวทางการดูแล
ผู้ป่วยเบาหวานด้วยการแพทย์ผสมผสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร.สำนักการแพทย์ทางเลือก
; 2558
13.สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. คู่มือการคัดกรองประเมินผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงสาธารณสุข ; 2558
14.ศิริลักษณ์ ถุงทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อ
พฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุม
ระดับน้ำตาลในเลือดได้.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2015; 35 Suppl 1 : S67-84.