การเปรียบเทียบผลระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาด้วยระบบคลินิกหมอครอบครัว ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา

Main Article Content

นายกิตติวัฒน์ กันทะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาในคลินิกหมอครอบครัวพระธาตุขิงแกง ก่อนตั้งคลินิกหมอครอบครัวและหลังจัดตั้งคลินิกหมอครอบครัว พระธาตุขิงแกง จำนวน 33 ราย ที่มารับยาและรักษาที่คลินิกหมอครอบครัว ผู้ป่วยที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS) มากกว่า 140 mg/dL หรือ ค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) มากกว่า 7 จะได้รับการเยี่ยมบ้านด้วยสหสาขาวิชาชีพ 1 ครั้ง ประกอบไปด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร แพทย์แผนไทย และ อสม.เพื่อให้ความรู้การดูแลตนเองที่บ้าน ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการตั้งคลินิกหมอครอบครัวผู้ป่วยมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS) เฉลี่ยเท่ากับ 133.38 +/- 33.32 mg/dL และค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) เฉลี่ยเท่ากับ 7.35 +/- 1.22 หลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่คลินิกหมอครอบครัวครบ 3 เดือน พบว่า ผู้ป่วยมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS) เฉลี่ยเท่ากับ 115.70 +/- 17.75 mg/dL ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P-value 0.04 และค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) เฉลี่ยเท่ากับ 6.95 +/- 1.32 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P-value 0.02 หลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่คลินิกหมอครอบครัวครบ 6 เดือน พบว่า ผู้ป่วยมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS) เฉลี่ยเท่ากับ 120.82 +/- 25.70 mg/dL ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P-value 0.048 และค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) เฉลี่ยเท่ากับ 7.10 +/- 1.22 ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P-value 0.13 เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่คลินิกหมอครอบครัว เดือนที่ 3 และ เดือนที่ 6 พบว่า ผู้ป่วยมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS) ค่าเฉลี่ยมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P-value 0.202 และค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) เฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที P-value 0.26 สรุปผล การรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยระบบคลินิกหมอครอบครัวพระธาตุขิงแกง สามารถลดค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหลังอดอาหาร(FBS) และ ค่าระดับน้ำตาลสะสม(HbA1c)  ได้จริง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.ข้อมูลสถิติผู้ป่วยนอก ปี พ.ศ.2551. http://bps.ops.moph.go.th/ill-out-ket51.xls.
2. วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจ
ร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552. นนทบุรี: สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย / สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2553.
3. American Diabetes Association. Position statement. Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care 2010; 33 (Suppl 1): S62-S69
4.แนวทางการดำเนินงาน คลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ พ.ศ. 2559.
5. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์จำกัด; 2554.