เปรียบเทียบผลการลดระดับความรุนแรงของอาการ คุณภาพชีวิต และการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับโปรแกรมการปฏิบัติตัวโรคหัวใจล้มเหลวเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการแนะนำตามปกติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ความสำคัญ: ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด ความรุนแรงของอาการภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุให้มาตรวจซ้ำก่อนวันนัด ต้องมานอนโรงพยาบาลซ้ำ และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนระดับความรุนแรงของอาการไม่สุขสบาย คะแนนคุณภาพชีวิต และการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ที่เปลี่ยนแปลงไปในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปฏิบัติตัวโรคหัวใจล้มเหลวกับกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำตามปกติ
วิธีการศึกษา รูปแบบศึกษา ผู้ป่วย และสถานที่: Randomized design (การเปิดซอง) ศึกษาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม และมาติดตามอาการที่ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างเดือนธันวาคม 2557 ถึงเดือนสิงหาคม 2558 ใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกระดับความรุนแรงของอาการภาวะหัวใจล้มเหลว แบบประเมินการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว แบบสอบถามคุณภาพชีวิต และแบบบันทึกการมาตรวจซ้ำก่อนวันนัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม STATA
ผล: ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 58 ราย เป็นชายต่อหญิงในอัตราส่วนประมาณ 3 ต่อ 4 ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา หลังได้รับโปรแกรมการปฏิบัติตัวภาวะหัวใจล้มเหลวผู้ป่วยมีการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวดีขึ้น ระดับความรุนแรงของอาการไม่สุขสบายลดลง คุณภาพชีวิตดีขึ้น อัตราการ readmission ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อยุติและการนำไปใช้: ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ควรได้รับโปรแกรมการปฏิบัติตัวภาวะหัวใจล้มเหลวทุกราย
Article Details
References
2. หน่วยเวชระเบียนโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. รายงานสถิติประจำปี. เชียงราย: หน่วยสถิติทางการแพทย์ หน่วยเวชระเบียนและสถิติ. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. 2556.
3. American College of Cardiology/American Heart Association [ACC/AHA]. ACC/AHA guidelines update for the diagnosis and management of chronic heart failure in the adult. Circulation. 2005; 112: 154-235.
4. Hae S, Doering LV, Widener J, Moser DK. Predictors and effect of physical symptom status on health-related quality of life in patient with heart failure. American Journal of Critical Care. 2008; 17: 124-132.
5. อัจฉรา เตชฤทธิพิทักษ. หัวใจวาย (มิติใหม่). วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2546; 16(2):25-30.
6. The European Society of Cardiology [ESC] Committee for Practice Guidelines. ESC guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure 2008. European Heart Journal. 2008: 29: 2388-2442.
7. van der Wal MHL, Jaarsma T, van Veldhuisen DJ. Non-compliance in patients with heart failure: How can we manage it?. The European Journal of Heart Failure. 2005; 7:5-17.
8. Albert NM. Switching to once daily evidence-based B-Blockers in patients with systolic heart failure or left ventricular dysfunction after myocardial infarction. Critical Care Nurse. 2008; 27:62-72.
9. Lorig KR and Holman HR. Self-management education: History, definition, outcomes, and mechanisms. The Society of Behavioral Medicine. 2003; 26(1)1-7.