ภาวะสภาพจิตใจและความเหนื่อยล้าในการทำงานของอาจารย์แพทย์และเรสสิเดนท์ ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

Wannaphorn Rotchanapanya

บทคัดย่อ

ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของแพทย์ที่มีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าในการทำงาน เป็นที่มาของการศึกษาถึงภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์


วิธีการศึกษา       


เก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามตามความสมัครใจ อิงตามแบบประเมินภาวะหมดไฟMBI-GS


ผลการศึกษา


แพทย์เข้าร่วมตอบแบบสอบถามทั้งหมด 88 คน มีระดับความรู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์ปานกลาง ความเย็นชาค่อนข้างต่ำ และความมีประสิทธิผลในการทำงานค่อนข้างสูง การวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะหมดไฟพบว่า เพศชายมีคะแนนความเหนื่อยล้าสูงมากกว่าเพศหญิง 5.3เท่า (95% CI; 1.10,25.68, p=0.038)ในด้านประสิทธิผลการทำงานพบว่า การทำงานนอกเวลาราชการเดือนละ8-10 วันช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงานดี 6.2เท่าเมื่อเทียบกับจำนวนการทำงานนอกเวลาราชการอื่น (95% CI; 1.3, 28.87, p=0.021)ขณะที่ความรู้สึกต่อภาระงานการทำงานในเวลามากไปมีผลลดประสิทธิผลการทำงานดีลงเหลือ 0.3  เท่า(95% CI; 0.13, 0.93, p=0.036)


สรุปผล


แพทย์ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีระดับความรู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์ปานกลาง  มีความเย็นชาค่อนข้างต่ำ  ความมีประสิทธิผลในการทำงานค่อนข้างสูง และ ปัจจัยความรู้สึกต่อภาระการทำงานในเวลามากไปลดประสิทธิผลการทำงานดีลงไป70เปอร์เซ็นต์


คำสำคัญ


ภาวะหมดไฟ, ความเหนื่อยล้า, แพทย์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Pulcrano M, Evans SRT, Sosin M. Quality of Life and Burnout Rates Across Surgical Specialties A Systematic Review. JAMA Surg. 2016;151(10):970–978.
2. Keeton K, Fenner DE, Johnson TR, Hayward RA. Predictors of physician career satisfaction, work-life balance, and burnout. Obstet Gynecol. 2007 Apr;109(4):949-55.
3. Ames SE1, Cowan JB, Kenter K, Emery S, Halsey D. Burnout in Orthopaedic Surgeons: A Challenge for Leaders, Learners, and Colleagues: AOA Critical Issues.J Bone Joint Surg Am. 2017 Jul 19;99(14):e78.
4. Iorga M, Socolov V, Muraru D, et al. Factors Influencing Burnout Syndrome in Obstetrics and Gynecology Physicians. Biomed Res Int. 2017;2017:9318534.
5. Du H1, Qin L2, Jia H, Wang C, Zhan J, He S. Relationship between job burnout and cognitive function and influencing factors of job burn out among medical staff. Zhonghua Lao Dong Wei Sheng Zhi Ye Bing Za Zhi. 2015 Sep;33(9):676-8.
6. Maslach C, Jackson SE. The measurement of experienced burnout. J Occup Behav 1981; 2: 99-113.
7. ชัยยุทธ กลีบบัว, พรรณระพี สุทธิวรรณ. (2015). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 22(3), 411-426.