การเข้าถึงบริการการฝากครรภ์และการคลอดของแรงงานข้ามชาติพม่า โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี การเข้าถึงบริการการฝากครรภ์และการคลอดของแรงงานข้ามชาติพม่า โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สุพรรณี เพชรแสน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
ความเป็นมา
สภาพเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทำให้ผู้หญิงต้องออกมาทำงานนอกบ้านหรือมาเป็นแรงงานข้ามชาติเพิ่มมากขึ้น เมื่อผู้หญิงเข้ามาเป็นแรงงานข้ามชาติความเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญจึงเป็นปัญหาด้านอนามัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะการตั้งครรภ์และการคลอด ดังนั้นสิ่งที่ผู้หญิงต้องเผชิญมักเป็นความยากลำบากในการเข้าถึงบริการการฝากครรภ์และการคลอด ท่ามกลางความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม และมีข้อจำกัดทางด้านภาษา รวมถึงสิทธิการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ถูกกำหนดขึ้นจากประเทศปลายทาง
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคมที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการการฝากครรภ์และการคลอดของแรงงานข้ามชาติพม่าในโรงพยาบาลพื้นที่ศึกษา
วิธีการศึกษา
การศึกษานี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 26 คน ประกอบด้วย สตรีตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติพม่า 20 คน และบุคลากรทางการแพทย์ 6 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการศึกษา
หญิงตั้งครรภ์มีอายุระหว่าง 20-43 ปี ตั้งครรภ์ 1-7 ครั้ง เป็นครรภ์หลังมากที่สุด ทุกคนมาฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ มาฝากครรภ์ 3-10 ครั้ง และทุกคนให้ความสำคัญกับการมาตรวจตามนัดทุกครั้ง ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการฝากครรภ์ พบว่าแรงงานข้ามชาติมองว่า การฝากครรภ์เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าโรงพยาบาลจะรับทำคลอดให้ ส่วนเหตุผลของการมาตรวจครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ถูกตำนิ ด้านการเข้าถึงบริการการคลอด พบว่าส่วนใหญ่ต้องการคลอดเอง และมองว่าการคลอดเป็นเรื่องธรรมชาติ ส่วนปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคมที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการ ได้แก่ นโยบายสุขภาพแรงงานข้ามชาติ ระบบการให้บริการ ที่ตั้งของโรงพยาบาล การเดินทาง สถานภาพทางสังคม รายได้และความสามารถในการจ่าย ลักษณะการทำงาน และการสนับสนุนทางสังคม ส่วนอุปสรรคที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดเป็นเรื่องภาษาและการสื่อสาร
สรุปและข้อเสนอแนะ
การเข้าถึงบริการการฝากครรภ์และการคลอดของแรงงานพม่าขึ้นอยู่กับปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคม ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ ภาษาและการสื่อสาร ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลและการสื่อสารเป็นภาษาพม่า เพื่อให้แรงงานพม่าสามรถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพได้ง่ายขึ้น


คำสำคัญ: การเข้าถึงบริการการฝากครรภ์, การเข้าถึงบริการการคลอด, แรงงานข้ามชาติพม่า

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Wickramasekera, Piyasiri. Asian labour migration: Issues and challenges in an era of globalization: International Migration Programme, International Labour Office; 2002.
2. Foreign workers administration office. Migrant workers statistics December 2018, Office of labor administration department of employment, [Internet].2002 [cited 2018 Dec 12]; Available from: https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/d5b8f909422cc2d4be0a62fdb6df215c.pdf.
3. Bhassorn, L., Narisara, P. Policy review: Access to health care service and health insurance among migrant worker in Thailand. Bangkok: Raks Thai Foundation; 2011.
4. Caspar, Peek. The 2012 National Population Annual Symposium. UNFPA Representative for Thailand; 2012.
5. Susanha Yimyam. Quality of life, health problems and reproductive health care behaviors among female migrant workers. Bangkok: National research council of Thailand, 2009.
6. Posttoday [Internet]. The human rights and the voices of migrant Workers. [updated 2007 Feb 9; cited 2018 Jun 10]. Available from: https://www.posttoday.com/politic/report/480059
7. Marmot M, Allen J, Bell R, Bloomer E, Goldblatt P. WHO European review of social determinants of health and the health divide. The lancet. 2012 Sep 15;380(9846): 1011-29.
8. Marmot M, Wilkinson R, editors. Social determinants of health. OUP Oxford; 2005 Oct 13.
9. Castaneda H, Holmes SM, Madrigal DS, Young ME, Beyeler N, Quesada J. Immigration as a social determinant of health. Annual review of public health. 2015 Mar 18;36: 375-92.
10. Almeida LM, Caldas J, Ayres-de-Campos D, Salcedo-Barrientos D, Dias S. Maternal healthcare in migrants: a systematic review. Maternal and child health journal. 2013 Oct 1;17(8):1346-54.
11. Alderliesten ME, Vrijkotte TG, Van Der Wal MF, Bonsel GJ. Late start of antenatal care among ethnic minorities in a large cohort of pregnant women. BJOG: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology. 2007 Oct;114(10):1232-9.
12 . Sasiwimon Deekum, Natthani Meemon. Maternal Care Utilization among Female Migrants from Myanmar in Samut Sakhorn. Journal of Human and Society Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University. 2018 Aug 3; 26(51): 170-187.
13. Malin, Maili, & Gissler, Mika. Maternal care and birth outcomes among ethnic minority women in Finland. BMC Public Health. 2009; 9(1), 84.