การศึกษาผู้ป่วยอุบัติเหตุทางตาที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของผู้ป่วยอุบัติเหตุทางตา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงที่ต้องได้รับการผ่าตัด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาของผู้ป่วยอุบัติเหตุทางตาที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลลำพูน
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าได้รับบาดเจ็บทางตาและได้รับการรักษาตัวแบบผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลลำพูน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-square test
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทางตาทั้งหมดจำนวน 112 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 98 ราย (ร้อยละ87.5) อายุเฉลี่ยะ 36.5 ปี สาเหตุหลักของการบาดเจ็บเกิดจากอุบัติเหตุจากการทำงาน ร้อยละ56.2 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 81.3 มารับการตรวจรักษาภายในเวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมง มีผู้ป่วย 52 ราย (ร้อยละ 46.4) ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1 ถึง 3 วัน (ร้อยละ 72.3) หลังการรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการมองเห็นดีขึ้น (ร้อยละ 45.5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงที่ต้องได้รับการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่เพศ ( p = 0.010) อายุ (p = 0.037) และสาเหตุของอุบัติเหตุทางตา(p = 0.025) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาอุบัติเหตุทางตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ สาเหตุของอุบัติเหตุทางตา (p = 0.023)
สรุป: อุบัติเหตุทางตาส่วนมากพบในเพศชาย กลุ่มวัยแรงงาน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานโดยเฉพาะการใช้เครื่องตัดหญ้า ควรรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการใช้แว่นตาหรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตาขณะทำงานที่มีความเสี่ยง เพื่อช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุทางตา
คำสำคัญ: อุบัติเหตุทางตา การได้รับบาดเจ็บทางตา
Article Details
References
2. Feit RM, Farber MD. Ocular trauma epidemiology. Arch Ophthalmol. 1989;107:503-4.
3. Schein OD, Hibberd PL, Shingleton BJ, Kunzweiler T, Frambach DA, Seddon JM, et al. The sectrum and burden of ocular injury. Ophthalmology. 1988;95:300-5.
4. Sintuwong S, Srichantapong S, Narinpaijit W. Epidimiology of hospitalized eye injuries in Mettapracharak hospital. Thai J Ophthalmol. 2551; 22(2):111-117.
5. Kantinun M. Prevalence of eye injury in Mukdaharn hospital. Srinagarind Med J. 2017;32(1):17-23.
6. Vongkittiruk S, Rattananwate P. Ocular injury in Thammasat hospital. TTJO. 2554; 6(1):19-24.
7. Juwattanasomran W. Open globe injury and eyelid-lacrimal lacerations in Thammasat hospital university. TTJO. 2550;1:28-38.
8. Kampitak K. Ocular injury in Thammasat hospital. Thai Journal of Public Health Ophthalmology. 2543; 14(1):19-24.
9. Wongchaikunakorn N, Kittanthong A. Evaluating ocular trauma by ocular trauma score in Songklanagarind hospital. Songkla Med J. 2548;23:99-109.
10. Chaikitmonkol V, Leeungurasatien T, Sengupta S. Work-related eye injuries: important occupational health problem in northern Thailand. Asia-pacific journal of ophthalmology. 2015;4:155-160.
11. Cao H, Li L, Zhang M. Epidemiology of patients hospitalized for ocular trauma in the Chaoshan region of China 2001-2010. Plos one. 2012;7(10): e48377.
12. Pandita A, Merriman A, Ocular trauma epidemiology: 10-year retrospective study. NZMJ. 2012;125: 61-69.
13. Movahedinejad T, Adib-Hajbaghery M, Zahedi MR. A study of hospital admissions for eye trauma in Kashan, Iran. Trauma Mon. 2016; 21(2); e28073.