ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

นันทิตา กุณราชา
สุภาพร ตรงสกุล
วรรณรัตน์ ลาวัง
พิษณุรักษ์ กันทวี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา


                โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง
การป้องกันและควบคุมโรคต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องโดยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งถือเป็นมาตรการที่สำคัญต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง


วัตถุประสงค์


                เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย


วิธีการศึกษา


                เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า บ้านห้วยไร่ (กลุ่มบ้านซาเจ๊ะ) ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายจำนวน 233 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มหลายขั้นตอนทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและ สถิติเชิงวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(r)


ผลการศึกษา


                กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นชนชาติพันธุ์อาข่ามีอายุเฉลี่ย 45ปี ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงร้อยละ 71.7 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 98.3 ไม่ได้เรียนหนังสือร้อยละ 71.2มีประวัติเคยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 54.9โดยมีระดับความสัมพันธ์เกี่ยวกับเจตคติต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถการควบคุมพฤติกรรม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01 ,r=0.42 ,0.65และ0.61ตามลำดับ)และความตั้งใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01 , r=0.67)


สรุปและข้อเสนอแนะ


                ข้อค้นพบคือการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถ เจตคติ ทำให้เกิดความตั้งใจในพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ส่งผลให้ประชาชนปฏิบัติเพื่อลดการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยมีข้อเสนอแนะจากการศึกษาโดยพัฒนารูปแบบการจัดทำกระบวนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าเพื่อลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่ในการปฏิบัติอย่างเข้มข้น  

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ