อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อแผลผ่าตัดไส้ติ่งที่รพ.แม่สาย

Main Article Content

วิทรรศนะ ลิ่มลิขิต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา: การติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นปัญหาหลักของปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก แต่ละปีจะมีการเสียชีวิตของผู้ป่วยนับพันรายที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในโรงพยาบาล การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบถือเป็นการผ่าตัดที่พบได้บ่อยที่สุดของการผ่าตัดในช่องท้อง และปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเรื่องการติดเชื้อแผลผ่าตัดในเขตโรงพยาบาลแม่สาย ดังนั้นการศึกษานี้มุ่งหวังที่จะศึกษาเรื่องอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อแผลผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบในโรงพยาบาลแม่สาย


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงอุบัติการณ์ของการเกิดการติดเชื้อในแผลผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบในโรงพยา บาลแม่สาย และศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในแผลผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ


วิธีการศึกษา: เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลังในคนไข้ที่ผ่าตัดไส้ติ่งที่รพ.แม่สายระหว่างเดือนมกราคม 2556 จนถึงธันวาคม 2557 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ


ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยที่ผ่าตัดไส้ติ่งที่รพ.แม่สายทั้งหมด 229 ราย พบการติดเชื้อแผลผ่าตัด 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.18 ในจำนวนผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแผลผ่าตัดไส้ติ่งมีโรคประจำตัวที่พบคือ ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคเก๊าท์ อย่างละ 1 ราย ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อแผลผ่าตัดไส้ติ่งพบ 2 รายสูบบุหรี่และ 1 รายดื่มแอลกฮอล์เป็นประจำ เมื่อแบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อแผลผ่าตัดไส้ติ่งตามเกณฑ์ของ ASA พบร้อยละ 1.31 อยู่กลุ่ม 1 และ ร้อยละ 0.87 อยู่กลุ่ม 3 ในกลุ่มที่ติดเชื้อแผลผ่าตัดไส้ติ่งพบ 1 ราย เป็นชนิด Clean Contaminate Wounds (ร้อยละ 20) และ 4 รายเป็นชนิด Contaminate Wounds (ร้อยละ 80) ระยะเวลาในการผ่าตัดผู้ป่วยคือ 15-196 นาที (เฉลี่ย 46 + 18 นาที) ผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่งจะได้รับยาปฏิชีวนะป้องกันทุกคน ยาที่ใช้ คือ Ceftriaxone ร่วมกับ Metronidazole


สรุปและข้อเสนอแนะ: อุบัติการณ์เกิดการติดเชื้อแผลผ่าตัดไส้ติ่งที่รพ.แม่สายค่อนข้างต่ำ แผลผ่าตัดชนิด Clean Contaminated Wounds และการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลาน้อยกว่า 60 นาที สัมพันธ์กับการที่แผลผ่าตัดไส้ติ่งติดเชื้อน้อยลง ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการติดเชื้อแผลผ่าตัดในการวิจัยนี้ยังไม่ชัดเจน อาจเนื่องมา จาก ประชากรที่ศึกษาน้อยเกินไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ