ผลของการให้ความรู้โรคเบาหวานแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นรายกลุ่มเทียบกับรายบุคคล ณ หน่วยบริการปฐมภูมิและคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

กิเริ่น โซนี่
นลวันท์ เชื้อเมืองพาน
ภัทรี มณีรัตน์
อรทัย มหาวงศ์นันท์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความสำคัญ:โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนซึ่งทั้งอันตรายและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการจัดการกับโรคเบาหวานไปมาก แต่จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์มีเพียง 1 ใน 3 นอกจากการรักษาด้วยยาแล้วผู้ป่วยควรมีการปรับพฤติกรรมและมีความเข้าใจโรคของตนเอง เพื่อสามารถแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้และส่งผลให้สามารถดูแลตนเองได้ดีขึ้น การให้ความรู้โรคเบาหวาน และระบบสนับสนุนผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถดูแลตนเองได้ Diabetes Self-Management Education and Support (DSMES) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผู้ป่วยให้คุมน้ำตาลได้ดีขึ้น


วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของDSMESในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2เป็นรายบุคคลเทียบกับเป็นรายกลุ่ม


วิธีการศึกษา:ได้ทำการศึกษาแบบ Retrospective cohort study ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลสะสม(HbA1C)มากกว่าร้อยละ 9 ระหว่างปีพ.ศ. 2557-2559 จำนวน 98 คน โดย 49 รายซึ่งรักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิ(PCU)จะได้รับ DSMES แบบรายกลุ่มทุก 4 เดือนจนครบ 1ปี และอีก 49 รายที่รักษาที่คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์(DM Clinic)จะได้รับ DSMES แบบรายบุคคลทุกครั้งที่มาตรวจรักษาจนระดับHbA1Cน้อยกว่าร้อยละ 9  โดยค้นหาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย และเปรียบเทียบผลการให้DSMES ทั้งสองแบบคือดูการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือดและHbA1C การเปลี่ยนแปลงของดัชนีมวลกายและ ลักษณะการใช้ยารักษาเบาหวานที่เปลี่ยนไป หลังได้รับความรู้DSMES 6  12  และ 24 เดือน และวิเคราะห์ผลของDSMESในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2เป็นรายบุคคลเทียบกับเป็นรายกลุ่มด้วยMultivariate repeated measures.


ผล:จากข้อมูลลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รับการรักษาที่ DM Clinic เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับการรักษาที่ PCU แล้วมีระดับHbA1Cตั้งต้นสูงกว่า(p=0.006)มีระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานยาวนาน(p=0.038)และใช้จำนวนยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า(p=0.017)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังจากปรับลักษณะพื้นฐานที่ต่างกันแล้วพบว่าผู้ป่วยเบาหวานทั้งสองกลุ่มได้รับประโยชน์จากการได้รับ DSMES โดยค่าน้ำตาลสะสมลดลงในทั้งสองกลุ่มเมื่อเทียบกับก่อนได้รับความรู้โรคเบาหวาน การลดลงของระดับน้ำตาลสะสมในกลุ่มที่ได้รับ DSMES แบบรายบุคคลมีแนวโน้มจะมากกว่าในกลุ่มที่รับDSMESรายกลุ่มเล็กน้อย(p=0.053)


ข้อสรุปและเสนอแนะ: ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับความรู้โรคเบาหวาน โดยจะเลือกการให้ความรู้แบบรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้ เนื่องการศึกษานี้พบว่าการให้ความรู้ทั้งสองแบบสามารถลดระดับน้ำตาลสะสมได้จริง และประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการให้ความรู้แบบรายบุคคลมีแนวโน้มที่จะลดระดับน้ำตาลสะสมได้มากกว่าเล็กน้อย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ