ผลของการให้คำแนะนำผู้ป่วยโดยใช้คลิปวีดีโอขณะทำ Core Needle Biopsy ในผู้ป่วยหญิงพบก้อนเนื้อ ที่เต้านม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: การเจาะชิ้นเนื้อด้วยเข็ม (core needle biopsy; CNB) เป็นหัตถการ ตัดชิ้นเนื้อจากก้อนที่เต้านมออกมาบางส่วนเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ผู้ป่วยมักมีความวิตกกังวล มีอาการตื่นเต้น กลัว เนื่องจาก
ไม่ทราบขั้นตอนที่แพทย์ทำการตรวจ ทำให้ขยับตัวหนี ปัดมือแพทย์ หรือขอให้หยุดทำหัตถการ การให้คำแนะนำก่อนการทำหัตถการโดยใช้วิธีอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจขั้นตอน อาจไม่เพียงพอจึงปรับการให้คำแนะนำโดยให้ผู้ป่วยดูคลิปวีดีโอที่มองเห็นภาพและขั้นตอนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้คำแนะนำผู้ป่วยก่อนทำหัตถการCNB ตามปกติ กับการแนะนำผู้ป่วยก่อนทำหัตถการCNB โดยใช้คลิปวีดีโอ
วิธีการศึกษา: การศึกษาefficacy research รูปแบบ interrupted time design ที่ห้องตรวจศัลยกรรม งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่าง กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2560 และ เมษายน – มิถุนายน 2560ศึกษาในผู้ป่วยหญิงมีก้อนเนื้อเต้านม ที่แพทย์สั่งทำCBN ผู้ป่วยที่ได้รับคำแนะนำก่อนทำหัตถการโดยวิธีอธิบายตามปกติเป็นกลุ่มควบคุมเก็บข้อมูลระหว่าง กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2560 และผู้ป่วยที่ได้รับคำแนะนำก่อนทำหัตถการโดยดูคลิปวีดีโอเป็นกลุ่มศึกษาเก็บข้อมูล เมษายน – มิถุนายน 2560วัดผลโดยเปรียบเทียบ เวลาที่ใช้ในการให้คำแนะนำ การต้องให้ข้อมูลซ้ำ ผู้ป่วยทราบถึงขั้นตอนที่แพทย์จะต้องทำกับตนเอง ผู้ป่วยปัดมือแพทย์ขณะทำ การขยับตัวหนี และการร้องขอให้หยุดทำหัตถการ ผู้บันทึกข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพในห้องหัตถการ วิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มด้วยสถิติ Exact probability test,t-test,ranksum testเปรียบเทียบผลการให้คำแนะนำผู้ป่วยด้วยmultivariable regression
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 78 ราย ได้รับคำแนะนำตามปกติ 38 ราย และได้รับคำแนะนำโดยดูคลิปวีดีโอ 40 ราย มีลักษณะทั่วไปและพยาธิสภาพใกล้เคียง แต่มีความแตกต่างกันในเรื่อง อายุการศึกษา การมีโรคร่วม ระยะเวลาการเป็นก้อนและแพทย์ผู้ทำหัตถการ ผลของการให้คำแนะนำกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ดูคลิปวีดีโอใช้เวลาให้คำแนะนำน้อยกว่า(3 ±0นาทีvs6.7±2.4 นาที; p<0.001)ผู้ป่วยเข้าใจขั้นตอนและไม่ได้ให้ข้อมูลซ้ำมากกว่า (97.5% vs76.3%; p=0.006)ส่วนการให้ความร่วมมือ การปัดมือแพทย์ การขยับตัวหนีในช่วงขั้นตอนการฉีดยาชาและการร้องขอให้หยุดทำหัตถการ ไม่แตกต่างกัน ภายหลังปรับความแตกต่างของอายุและระดับการศึกษา การมีโรคร่วม ระยะที่พบก้อนและแพทย์ผู้ทำหัตถการ ผู้ป่วยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ดูคลิปวีดีโอลดโอกาสการไม่เข้าใจขั้นตอนและต้องให้ข้อมูลซ้ำลงได้93% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับคำแนะนำตามปกติ (RR=0.07 95% CI=0.01 - 0.65, p=0.018)ส่วนการขยับตัวหนีในช่วงขั้นตอนการฉีดยาชาและการร้องขอให้หยุดทำหัตถการมีแนวโน้มลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปและข้อเสนอแนะ: ก่อนการทำ core needle biopsy ในผู้ป่วยก้อนที่เต้านมควรให้คำแนะนำผู้ป่วยโดยใช้คลิปวีดีโอที่มองเห็นภาพ เพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจ และความร่วมมือขณะทำหัตถการ