ลักษณะเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำเกิน (Volume Overload) ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลพะเยา

Main Article Content

ดอนคำ แก้วบุญประเสริฐ
เพ็ญศรี อุทธโยธา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา: ภาวะน้ำเกิน (Volume Overload) ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย  ซึ่งถ้าปล่อยให้เกิดภาวะน้ำเกินอยู่เป็นเวลานาน  จะทำให้เกิดโรคทางด้านหัวใจและหลอดเลือดตามมา              ส่งผลกระทบต่ออัตราการเจ็บป่วย อัตราการเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยเหล่านี้  


วัตถุประสงค์: เพื่อหาลักษณะเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง


วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ  Prognostic determinant  Research  ชนิด prospective case  control ที่ห้องล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลพะเยา ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ระหว่างมีนาคม 2559 ถึง กันยายน 2559 ทำการศึกษาโดย รวบรวมข้อมูลทั่วไป การบริโภคอาหารและน้ำดื่ม ปริมาณปัสสาวะ ความสม่ำเสมอในการล้างไต ระดับพลาสมาอัลบูมิน ( serum albumin ) ความดันโลหิตและโรคร่วม วิเคราะห์ลักษณะเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำเกินด้วย Sterotype logistic model


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องจำนวน 117 ราย แบ่งระดับการบวมออกเป็น 4 กลุ่ม หลังจากวิเคราะห์ลักษณะเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำเกินด้วย Sterotype logistic model พบว่า เพศหญิงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำเกินได้มากกว่าเพศชาย 1.95เท่า  BMI มากกว่า 23 มีความเสี่ยง 3.9 เท่า  ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตมากกว่า 100 mmHg มีความเสี่ยง 6.10 เท่า และมีปัสสาวะน้อยกว่า 200 cc มีความเสียงที่จะเกิดภาวะน้ำเกิน 2.3 เท่า



ลักษณะ




OR




95%CI




p-value




เพศหญิง




1.95




0.98  -  3.88




0.056




BMIมากกว่า 23




3.89




1.86  -  8.15




< 0.001




ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตมากกว่า 100 mmHg




6.10




2.80  -  13.32




< 0.001




ปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 200 cc/วัน




2.30




0.89  -  5.98




0.087



สรุปและข้อเสนอแนะ: ลักษณะเสี่ยงผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีโอกาสเกิดอาการบวมได้แก่ เพศหญิง  BMI มากกว่า 23   ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตมากกว่า 100 mmHg และมีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 200 ซีซี ผู้ป่วยที่มีลักษณะเสี่ยงดังกล่าวควรตระหนักและควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกิน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ