การพัฒนารูปแบบการฝึกแปรงฟันในเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ศุภกร ศิริบุรี
พันพัสส์ ปาระมี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา


ปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย  พบมีโรคเหงือกอักเสบ ร้อยละ 100  และโรคฟันผุ ร้อยละ 85  สภาวะอนามัยช่องปากอยู่ในระดับเป็นปัญหา เพราะไม่สามารถขจัดคราบจุลินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การแปรงฟันที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความรุนแรงของปัญหาดังกล่าวได้


วัตถุประสงค์


 เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกแปรงฟันในเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น และประเมินรูปแบบการแปรงฟันที่ได้โดยการวัดสภาวะอนามัยช่องปากและสภาวะเหงือกอักเสบ


วิธีการศึกษา


 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ระหว่างเดือนธันวาคม 2560 –มีนาคม 2561 ประชากรที่ศึกษา  นักเรียนจำนวน 19 คน ครูจำนวน 5 คนและผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คนในโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อหารูปแบบการฝึกแปรงฟันที่เหมาะสมและทดลองนำไปปฏิบัติ ประเมินรูปแบบการแปรงฟันโดยการวัดสภาวะอนามัยช่องปากและสภาวะเหงือกอักเสบก่อนและหลังการฝึกแปรงฟัน 4 สัปดาห์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติประเภท non parametic  Wilcoxson signed ranks test


ผลการศึกษา


วิธีการสอนแปรงฟันที่เหมาะสมในเด็กกลุ่มนี้ควรแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่มคือ  1.กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น สามารถแปรงฟันได้ด้วยตนเอง ให้ทันตแพทย์สอนแปรงฟัน เทคนิคการแปรงฟันแบบสครับแนวนอนแบบแปรงแห้ง ร่วมกับการใช้เทคนิค ATP  2. เด็กที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสติปัญญาหรืออื่นๆร่วมด้วยให้ครู/ผู้ดูแลเด็กเป็นผู้แปรงฟันให้โดยใช้เทคนิคการแปรงฟันแบบสครับแนวนอน การแปรงแห้ง  พบว่า หลังการใช้รูปแบบการฝึกแปรงฟันดังกล่าว เด็กทั้งสองกลุ่มมีสภาวะอนามัยช่องปากและสภาวะเหงือกอักเสบดีขึ้น (p<0.05)


สรุปและข้อเสนอแนะ


                      รูปแบบในการฝึกแปรงฟันที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นคือเทคนิคการแปรงฟันแบบสครับแนวนอน การแปรงแห้งร่วมกับการใช้เทคนิค ATP  หลังการฝึกแปรงฟันตามรูปแบบที่ได้เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าเด็กทั้งสองกลุ่มมีสภาวะอนามัยช่องปากและสภาวะเหงือกอักเสบดีขึ้น (p < 0.05)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ