การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ ในการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ปณดา รามไพบูลย์
ระวิวรรณ์ เจริญทรัพย์
รัชนี สรรเสริญ
พิษณุรักษ์ กันทวี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ความเป็นมา :  ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งต้องรักษาอย่างต่อเนื่องจึงทำให้ผู้ป่วยแสวงหาวิธีการรักษาในรูปแบบวิธีการต่างๆโดยเฉพาะการใช้สมุนไพรจากปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีนั้นต้องอาศัยความสามารถในการค้นหา ทำความเข้าใจวิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง คือความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุ


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ ในการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง


วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) จำนวน 70 คนโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็น2 กลุ่มคือกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพในการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มควบคุมได้รับการให้บริการการรักษาตามมาตรฐานการให้บริการรักษาโรคความดันโลหิตสูง เครื่องมือที่ใช้ในการการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามผ่านการตรวจความเที่ยงตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านและมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.954 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Pair t-test  เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่ม, Un-pair t-test  เปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่ม


ผลการวิจัย : หลังจากการให้โปรแกรมพบว่าระดับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ความรู้เรื่องสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร พฤติกรรมการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรและความรอบรู้ทางสุขภาพ มีระดับที่เพิ่มขึ้นแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่มีพฤติกรรมความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลงก่อนการได้รับโปรแกรม  


สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพในการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงทำให้กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ความรู้เรื่องสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร พฤติกรรมการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรและความรอบรู้ทางสุขภาพเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมจากก่อนและหลังการทดลอง แต่มีพฤติกรรมความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ