THE EFFECTIVENESS OF NON ST ELEVATE MYOCARDIAL INFARCTION (NSTE-ACS) SCREENING FORM TO SHORTENING WAITING TIME FOR CORONARY PROCEDURES OF CHIANGRAI PRACHANUKROH HOSPITAL
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด Non ST elevation-Acute Coronary Syndrome (NSTE-ACS) เป็นภาวะผิดปกติที่พบมากและมีความหลากหลายในการพยากรณ์โรค กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตหรือเกิดผลแทรกซ้อนจากโรคหัวใจขาดเลือด (risk stratification) ควรได้รับการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด ( Coronary Angiography : CAG) อย่างเร่งด่วน การพัฒนาแบบประเมินคัดกรองความรุนแรงในการตัดสินเลือกลำดับการเข้าตรวจสวนหัวใจ น่าจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบการลดระยะเวลาการรอคอยการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและสูงมากโดยใช้และไม่ใช้แบบประเมินคัดกรองความรุนแรงผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด NSTE-ACS
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย ชนิด Screening Intervention Research โดยใช้รูปแบบ Historical Intervention Controlled ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด NSTE-ACS ที่เข้ารับการรักษาในหน่วยตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 ถึง กันยายน 2560 โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในช่วงมีนาคม ถึง กันยายน 2560 เป็นกลุ่มที่ใช้แบบประเมินคัดกรองฯ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก วิเคราะห์เปรียบเทียบกลุ่ม ด้วยสถิติ exact probability test และ t-test
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด NSTE-ACS 357 ราย (กลุ่มควบคุม 214 รายและกลุ่มทดลอง 143 ราย) หลังการใช้แบบคัดกรองความรุนแรงช่วยลดเวลารอตรวจสวนหัวใจ เฉลี่ยลงได้ 43.33 วัน ลดจำนวนผู้ป่วยที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจซ้ำระหว่างรอตรวจสวนหัวใจได้ 79% และลดจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตระหว่างรอตรวจสวนหัวใจ ได้ 89 %
สรุปและข้อเสนอแนะ
การใช้แบบประเมินคัดกรองความรุนแรงของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด NSTE-ACS สามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการตรวจสวนหัวใจตามความเสี่ยงของโรค และความจำเป็นของผู้ป่วยในการเข้ารับหัตถการสวนหัวใจได้