ผลของการจัดรูปแบบการพยาบาลต่อจำนวนวันนอนของผู้ป่วยศัลยกรรม และ ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลราชวิถี

ผู้แต่ง

  • บุญหนัก ศรีเกษม พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลราชวิถี
  • สุวิณี วิวัฒน์วานิช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบเปรียบเทียบกับกลุ่มเกณฑ์ (Static group comparision design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอนของผู้ป่วยหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบของพยาบาลวิชาชีพกับการพยาบาลปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 30 คน เป็นผู้ป่วยที่เลือกเข้ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติจำนวน 15 คน กลุ่มทดลอง 15 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจำในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ป่วยได้จากการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด สุ่มเข้ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติและกลุ่มทดลองด้วยวิธีจับคู่กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมมี 4 ชุดคือ 1) แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรม 2) คู่มือการปฏิบัติงาน และ 3) วีดีทัศน์เรื่องการปฏิบัติตนของผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัด และ4) แบบกำกับการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูลมี 2 ชุด คือ 1) แบบบันทึกจำนวนวันนอน 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้รูปแบบ เครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .93 และทดสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของจำนวนวันนอนด้วยสถิติ Independent t-test และทดสอบความแตกต่างของความ พึงพอใจต่อการใช้รูปแบบของพยาบาลด้วยสถิติ Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks test

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย