ผลของการใช้การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุต่อจำนวนวันนอนและความพึง พอใจของพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรม
คำสำคัญ:
การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ, จำนวนวันนอน, ความพึงพอใจของพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอนของผู้ป่วยสูงอายุ หอผู้ป่วยอายุรกรรมระหว่างกลุ่มที่ได้รับการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ และกลุ่มที่ได้รับการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยตามปกติ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยสูงอายุจำนวน 40 คน ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย อายุรกรรม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุมี 5 ชุดคือ 1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุหอผู้ป่วยอายุรกรรม” 2) แผนการอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) แนวทางการปฏิบัติ 4) คู่มือการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ 5) คู่มือสำหรับผู้ป่วยสูงอายุและผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมี 3 ชุด คือ 1) แบบกำกับการทดลอง 2) แบบบันทึกจำนวนวันนอน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล เครื่องมือการวิจัยทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ.91 แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลนำเครื่องมือไปทดสอบหาความเที่ยงได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยสรุปดังนี้
1. ค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอนของผู้ป่วยสูงอายุหลังได้รับการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ น้อยว่าค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอนของผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ความพึงพอใจของพยาบาลหลังการใช้รูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น