ผลของการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ต่อจำนวนวันนอน และความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของผู้ป่วย หอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลราชวิถี
คำสำคัญ:
การจัดการผู้ป่วยรายกรณี, จำนวนวันนอนในโรงพยาบาล, ความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของผู้ป่วย, ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล และความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของผู้ป่วยหลังการใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะ หอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะโรงพยาบาลราชวิถี กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ป่วยที่รบการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลราชวิถี ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคระบบทางเดินปัสสาวะใน 4 กลุ่มโรคได้แก่ 1)โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ 2)โรคต่อมลูกหมากโต 3)โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และ 4)โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 15 คน คัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จัดเข้ากลุ่มที่ใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบโดยได้รับการพยาบาลแบบปกติและกลุ่มทดลองโดยได้รับการพยาบาลโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณีด้วยวิธีจับคู่ตามรายโรค ชนิดของการผ่าตัด อายุ เพศและความรุนแรงของโรค เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่1 การจัดการผู้ป่วยรายกรณี ประกอบด้วย 5 ชุด คือ 1)โครงการอบรมเชงปฏิบัติการการพัฒนารูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะ 2) แผนการอบรมการพัฒนารูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะ 3) แผนการดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะ 4) คู่มือการจัดการผู้ป่วยรายกรณี และ 5) แบบกำกับการทดลอง ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการวิจัย ประกอบด้วย 2 ชุด คือ 1) แบบบันทึกจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่านได้ค่าความตรงเท่ากับ .80 และทดสอบความเที่ยง โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี (X̄= 6.20, SD = 3.75) น้อยกว่าจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ (X̄= 10.73, SD = 4.85) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี (X̄= 4.64, SD = .32) สูงกว่าความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ (X̄= 2.98, SD = .54) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น