ผลของการใช้การวางแผนจำหน่ายต่อการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็ก โรคปอดอักเสบและความพึงพอใจของผู้ดูแล สถาบันสุขภาพเด็กแห่ง าติมหารานี EFFECTS OF USING DISCHARGE PLANNING PROGRAM ON READMISSION OF CHILDREN WITH PNEUMONIA AND CAREGIVERS’ SATISFACTION WITH NURS
คำสำคัญ:
เด็กโรคปอดอักเสบ, การกลับมารักษาซํ้า, ความพึงพอใจของผู้ดูแล, รูปแบบการวางแผนจำหน่าย, children with Pneumonia, re-admission rate, caregiver’s satisfaction, discharge planning programบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการกลับมารักษาซํ้าของผู้ป่วยเด็ก โรคปอดอักเสบกลุ่มที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายเด็กโรคปอดอักเสบและกลุ่มที่ได้รับการวางแผนจำหน่าย ปกติ เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กโรคปอดอักเสบและเด็กโรคปอด อักเสบ จำนวน 30 คน แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มทดลอง 15 คน โดยจับคู่ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาการวางแผนจำหน่าย คือ โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ แผนอบรมเชิงปฏิบัติการ แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ คู่มือ การดูแลเด็กโรคปอดอักเสบสำหรับผู้ดูแล คู่มือการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบสำหรับ พยาบาลแบบกำกับการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกการกลับมารักษาซํ้า แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแล เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ .86 และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ.91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Mann–Whitney U-test.
ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราการกลับมารักษาซํ้าของผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบกลุ่มที่ใช้รูปแบบการ วางแผนจำหน่ายและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติไม่แตกต่างกัน 2) ความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กโรคปอด อักเสบกลุ่มที่ใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.05
Abstract
The purposes of this quasi-experimental research were to study effects of using discharge planning program on readmission of children with pneumonia and caregivers satisfaction with nursing services in medical unit, Queen Sirikit National Institute of Child Health. The research subjects were consisted of 30 caregivers who caring for children with pneumonia. The subjects were assingned to either experimental group or control group. They were matched by age, educational level and experience of caring for children with pneumonia. The research instruments were the workshop project, the workshop program, clinical nursing practice guidelines for children with pneumonia, handbooks for caregivers of children with pneumonia, discharge planning handbooks for nurses, observation form of nursing practice. The data collection instruments were readmission record, and caregivers satisfaction with nursing services questionnaire, tested for content validity by five experts. The content validity was .86 and the Cronbach’s alpha coefficient was .91. Statistics used for data analysis were percentage, mean, median, and Mann –Whitney U-test.
The research findings were as follows: 1) Re-admission rate of children with pneumonia in both groups was not significantly different; and 2) Caregivers' satisfaction with nursing service in experimental group was significantly higher than the control group (p<.05)
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น