ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ชนิดาภา กล่อมสมบัติ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุนีย์ ละกำปั่น ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เพลินพิศ บุณยมาลิก ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, พฤติกรรมป้องกันโรค, ไวรัสโคโรนา 2019 , precede- proceed framework , นักเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่อที่มีการระบาดอย่างกว้างขวางและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลก การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทำนาย  กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ภาคเรียนที่ 1 และ 2  ปีการศึกษา 2565 ในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 542 คน ได้จากการสุ่มห้องเรียนแบบหลายขั้นตอน  การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยได้ประยุกต์โมเดลพรีซีด โพรซีด (PERCEED-PROCEED  model) และการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019   ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยนำ  ปัจจัยเอื้อ  ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าความตรงอยู่ระหว่าง 0.8 -1.0 และมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.89 - 0.96  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 71.1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มากที่สุด คือ ปัจจัยเสริม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว  (beta= .263) รองมาคือการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน (beta= .240)  ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ มาตรการโรงเรียน ในการป้องกันติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (beta=.223)   และปัจจัยนำ ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019   (beta= .222) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ของนักเรียน ได้ร้อยละ  61.4  (Adj R2 = .614 )  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)

สรุปผล: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา คือ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและเพื่อน  มาตรการโรงเรียนในการป้องกันติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ข้อเสนอแนะ:  การส่งเสริมให้นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นสิ่งที่จำเป็น โดยโรงเรียนและครูควรเพิ่มพูนความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระตุ้นให้เพื่อนนักเรียนและครอบครัวช่วยสนับสนุนนักเรียน นอกจากนี้ ควรรักษามาตรการของโรงเรียนในการป้องกันติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไว้อย่างต่อเนื่อง

References

Worldometers. COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC [Internet]. 2022 [cited 2022 February 14]. Available from: https://www.worldometers.info/coronavirus/

Pediatric Infectious Disease Society of Thailand. Situation of COVID-19 in Thai children (0-18 years old) since the outbreak of a new wave [Internet]. 2021 [cited 2021 December 1]. Available from: https://drive. google.com/file/d/1Yk20zTN7TlY-cthY8uFMmE _ZmMCNXROz/view (2564)

Samut Sakhon Covid-19. Measures in and out of the province [Internet]. 2022 [cited 2022 February 19]. Available from: http://www.covid.samutsakhon.go.th/announce(2565)

Department of Health, Ministry of Public Health. Practice measures for students in educational institutions to prevent infection with coronavirus 2019 [internet]. 2020 [cited 2021 May 25]. Available from: http://www. oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/ DRAWER002/GENERAL/DATA0002/00002647.PDF

Benjamin JC, Sheikh TA, Tiffany WYN, Tim KT, Julian CML, Min WF, et al. Impact assessment of non-pharmaceutical interventions against coronavirus disease 2019 and influenza in Hong Kong: an observational study. The Lancet Public Health [Internet]. 2020 [cited 2022 February 19]. 5, e279–e288. Available from: https://doi:10.1016/S2468-2667(20)30090-6

Department of Disease Control. Advice from the Ministry of Public Health. For the public in coronavirus infection 2019 [Internet]. 2022 [cited 2022 May 3]. Available from: https:// ddc.moph.go.th/viralpneu-monia/file/int_protection/int_protection_ 030164.pdf

Thai Government. Government House News [Internet]. 2022 [cited 2023 July 6]. Available from: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57706

Green LW, Kreuter MW. PRECEDE - PROCEED model of health program planning [internet].2005 [cited 2021 November 19]. Available from: https://www.researchgate.net/ figure/Green-and-Kreuters-Green-and-Kreuter-2005-P-RECEDE-P-ROCEED-model-of-health-program_fig1_24253959

Chotikawanitchakul O, Pensuk P, Nachairittiwong S, Unarat B. Health literacy and liver fluke prevention behavior among secondary students in the secondary education service area office Region 9. Department of Health Service Support Journal2021;17(1):35-44

Aim-utcha Wattanaburanon A, Sirichote M, Piyaaramwong P, Sattayathewa S. Perceptions and preventive behaviors of the COVID-19 among high school students in Bangkok, Thailand. Journal of Liberal Arts, Maejo University2021;9(1):36-49.

Kongkun P, Kaewsuksai R, Waedueramae R, Tongkoop B, Salaeh M. Prevention of Coronavirus Disease (COVID-19) among food vendors in Narathiwat province: relationships between perception, social support and “New Normal Behaviors”. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2021;8(3):133-146.

Wannalai U. Factors influencing health status of late adolescents in Muang district, Lampang province. Journal of Health Sciences Scholarship 2021;8(2):197-218.

Ketumarn P. Adolescent behavior problems [Internet]. 2007 [cited 2021 November 23]. Available from: http://www.psyclin.co.th/new_page_56.htm

Intarakamhang U. Creation and development of health knowledge tools for Thai people. Behavioral science research institute, Srinakharinwirot University;2017

Chaengaksorn C, Masantia J, Tantasane N, Kanthapong N. Prevention behavior of Coronavirus 2019 among learners in new normal. Journal of Education Sakon Nakhon Rajabhat University (Online) 2021;1(3):62-76.

Waeputeh N, Kanchanapoom K, Tansakul K. Prevention behaviors of Coronavirus disease 2019 of Songkhla Rajabhat University students. Journal of Council of Community Public Health 2022;3(2):31-39.

Nutbeam D, Levin-Zamir D, Rowlands G. Health literacy in context [Internet]. 2005 [cited 2021 November 19]. Available from: https://mdpi-res.com/books/book /1104/Health_Literacy_in_ContextSettings_Media_and_Populations.pdf

Charoensir S, Toonsir C, Leelukkanaveera Y. Factors affecting sexually transmitted infection preventive behaviors among male students in non-formal education. Journal of Phrapokklao Nursing College 2019;30(2):14-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28