การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะก่อนการตรวจรักษา งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย
  • พุทธวร พิลาฤทธิ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย
  • ศิริวรรณ สิงหศิริ โรงพยาบาลโพนพิสัย
  • กัลยารัตน์ อนนท์รัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะก่อนการตรวจรักษา, แนวทางการดูแลผู้ป่วย, งานผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

บทนำ: การดูแลผู้ป่วยระยะก่อนการตรวจรักษาของหน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยนอกเป็นจุดแรกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการประเมินอาการและดูแลผู้ป่วยด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง

วัตถุประสงค์การวิจัย:เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะก่อนการตรวจรักษาและประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะก่อนการตรวจรักษางานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ระเบียบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในงานผู้ป่วยนอกและงานอุบัติเหตุฉุกเฉินเลือกแบบเจาะจง จำนวน 19 คน และ ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวัง จำนวน 240 ฉบับ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์ เชิงลึกพยาบาลวิชาชีพ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการใช้ระบบการดูแลผู้ป่วยฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยแจกแจงหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Paired t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย: การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยฯ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการคัดกรองและดูแลผู้ป่วย 2) มีพยาบาลคัดแยกผู้ป่วยในช่วงเวลา 07.00 - 08.00 น. และ 12.00 - 13.00 น. และ 3) มีแนวทางการปฏิบัติในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังที่ชัดเจน หลังการใช้ระบบการดูแลฯ พบว่า พยาบาลมีความรู้ในการคัดกรองผู้ป่วยสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ (p<.001) และมีความพึงพอใจในการใช้ระบบการดูแลฯอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านเป็นประโยชน์ต่อผู้มารับบริการและหน่วยงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 4.52 (SD =.82)

สรุปผล: สามารถใช้ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะก่อนการตรวจรักษาที่ได้รับการพัฒนาใหม่ ในการเฝ้าระวังและป้องกันอาการทรุดลงของผู้ป่วยขณะรอตรวจได้

ข้อเสนอแนะ: สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลและแนวทางการปฏิบัติงานในหน่วยงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน

References

Bureau of Nursing, Department of Medical Service, Ministry of Public Health. Nursing standards in hospitals. Nonthaburi: Veterans Organizations; 2008.

Christ M, Goransson F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern triage in the emergency department. Dtsch Arztebl Int 2010; 107(50): 892-8. doi: 10.3238/arztebl.2010.0892.

Paisarn K, Kanchanabatr B. Development of an Instrument for Patient Classification of the Trauma and Emergency Department of Phon Hospital, Khon Kaen Province. JNSH. 2012;34(3):57-64. (in Thai).

Yurkova, L, Wolf, L. Under–triage as a significant factor affecting transfer time between the Emergency department and the intensive unit. Journal of emergency Nursing. 2011; 37: 491-6

National Institute of Emergency Medicine. Emergency Medical Triage Protocol and Criteria Based Dispatch (2rd ed). Nonthaburi. 2013. (in Thai)

Intarawichien N. A study of quality of emergency patient triage in Phonpisai Hospital. Nursing Public Health and Education Journal. 2019;2(2).43-53. (in Thai).

Bertalanffy, LV. General system theory: Foundations, Development, Applications. New York : George Braziller; 1968.

Phon Pisai Hospital. Phone Pisai Outpatient Medical Record in 2022. (in Thai).

Bloom, B.S. Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. Los Angeles. University of California at Los Angeles. 1971.

Kuharattanachai C. Inroduction to Statistics. Bangkok: The Department of Applied Statistics, Mahanakorn University ofTechnology;1999. (in Thai)

Larthum K, Pearkao, C. A study of quality of emergency patient triage at Srinagarind Hospital. The National and International Graduate Research Conference 2017, Khon Kaen University, March 10, 2017. (in Thai)

Upananchai S, Oumtanee A. Effect of using the emergency severity Index triage model on waiting time of patients and independent roles of professional nurses Emergency room. Klang Hospital. Journal of Charoenkrung Pracharak Hospital. 2017;13(2): 90-1. (in Thai).

Wachiradilok P, Sirisamutr T, Chaiyasit S, Sethasathien A. A Nationwide Survey of Thailand Emergency Departments Triage Systems. Thai Journal of Nursing Council. 2016; 31(2): 96-108. (in Thai).

Ritintarangoon O, Khowtong W, Kongsomboon P, Kheaw-on S. The Development of Triage System at Emergency Department in Sawanpracharak Hospital. Journal of Department of Medical Services. 2018; 43(2): 146-151. (in Thai).

Wongprathumthip S. Development of a care system for patients before outpatient department treatment of Dontum Hospital. 12th Region Medical Journal. 2019;30(1):14-20. (in Thai).

Pimsung S, Kummabutr J, Niratharadorn M . The Effect of A Clinical Practice Guideline on Abdominal Pain Triage in An Outpatient. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2561;19: 99-108. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28