การสร้างตัวแบบสมการทำนายความสุขพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • ปานทิพย์ บุญประเสริฐ โรงพยาบาลบางมูลนาก
  • อัญสุรีย์ ศิริโสภณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความสุข , พยาบาลวิชาชีพ , ตัวแบบสมการทำนาย , การวิเคราะห์การจำแนก

บทคัดย่อ

บทนำ: ความสุขสามารถสะท้อนคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลได้ และหากโรงพยาบาลสามารถบริหารจัดการปัจจัยที่ส่งผลให้บุคลากรมีความสุข ย่อมส่งผลให้บริการสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชน และสังคมได้ต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความสุขและเปรียบเทียบความแตกต่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ รวมถึงจำแนกกลุ่มพยาบาลวิชาชีพและสร้างตัวแบบสมการทำนายความสุขพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร จำนวน 81 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้มาตรวัดความสุขที่ดัดแปลงจาก HAPPINOMETER โดยมีค่าความตรงเท่ากับ 0.98 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์การจำแนก

ผลการวิจัย: พยาบาลวิชาชีพโดยรวมมีความสุข ลักษณะทางประชากรศาสตร์ในด้านอายุ ลักษณะงาน ระดับปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือนส่งผลให้พยาบาลวิชาชีพมีความสุขต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนองค์ประกอบที่มีผลต่อความสุขพยาบาลวิชาชีพ คือ ด้านครอบครัวที่ดี ด้านน้ำใจงาม และด้านการใช้เงินเป็น โดยสามารถจำแนกกลุ่มและสร้างสมการทำนายความสุขพยาบาลวิชาชีพได้ถูกต้องและแม่นยำร้อยละ 90.01

สรุปผล: ด้านครอบครัวที่ดีเป็นตัวแปรที่ทำนายความสุขพยาบาลวิชาชีพมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านน้ำใจงาม และด้านการใช้เงินเป็นพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานแคโนนิคอล มีค่าเท่ากับ 0.63, 0.60 และ 0.47 ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารโรงพยาบาลควรให้ความสำคัญกับความสุขพยาบาลวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านครอบครัวที่ดี ด้านน้ำใจงาม และด้านการใช้เงินเป็น และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปกำหนดแนวทางการพัฒนาและบริหารงานทรัพยากรบุคคลของโรงพยาบาล และเสริมสร้างความสุขให้พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดูแลและการให้บริการสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไปได้

References

Strategy and Planning Division. Action Plan 2022 of Ministry of Public Health [Internet].2020 [cited 2022 August 5]. Available from: https://www.moph.go.th/document/ (in Thai).

Nursing Division. Roles and Duties of Registered Nurses. Nonthaburi: Publishing of Suetawan 2018. (in Thai).

Sawaengdee K. Crisis of Nursing shortage in Health Service Facilities under Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health: Policy Recommendations. Journal of Health Science 2017;26(2):456-68. (in Thai).

Chirawatkul S, Songwathana P, Rungreangkulkij S, Fongkhew W, Deoisres W, Sindhu S, et al. Happiness and Professional Attachment amongst Thai Registered Nurses. The journal of Thailand Nursing and Midwifery Council 2012;27(4):26-42. (in Thai).

Mongkhonpan N, Ngamthipwatthana T, Phattharayuttawat S, Manusirivithaya, V. The Happiness at Work of Tertiary Hospital Staffs. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Med Education Center 2017;34(2):87-99. (in Thai).

Lorsisirat S. Happiness of Hospital Personnel Under the Phichit Provincial Public Health Office in 2019 [Internet]. 2019 [cited 2022 September 19]. Available from: https://spbo3.moph.go.th/ket/?page_id=12223 (in Thai).

Trakulmaykee Y, Ngamyingyod, W. Happiness at Workplace of Health Personnel in Public Hospital, Four Provinces of Southern Thailand. In: The 12th Hatyai National and International Conference; 2021 June 25; Hatyai, Songkhla. Hatyai University; 2021. p.1522-30. (in Thai).

Kittisuksathit S, Tangchonlatip K, Jaratsit S, Saiprasert C, Boonyatearana P, Ari W. HAPPINOMETER. Bangkok: Thammada Press; 2012. (in Thai).

Edmonds WA, Kennedy TD. An Applied Guide to Research Designs: Quantitative, Qualitative, and Mixed Methods. 2nd ed. Los Angele: SAGE Publications; 2017.

Chaikongkiat P, Makchuchit S, Klungmun A. Relationships among Work-life Balance, Personnel Happiness Index, and Employee Engagement of Personnel Working at Boromarajonani College. Journal of Nursing, Public Health, and Education 2019;20(2):48-59. (in Thai).

Khunphet S, Binyala H. Factors Associated with Happiness in working of Professional Nurses in Operating room at Tertiary Hospital of Southern Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences 2017;4(2):69-80. (in Thai).

Panwong R, Cheevakasemsook A, Thongkamrod R. Joy at work of professional nurses in Surin Hospital. Thai Journal of Nursing 2022;69(3):11-19. (in Thai).

Nezhad JA, Abazari F, Mardani A, Maleki M, Hebda T. Happiness and Achievement Motivation among Iranian Nursing Students: A Descriptive Correlational Study. BioMed Research International [Internet]. 2022 [cited 2022 May 15]: 1-10. Available from: https://doi.org/10.1155 /2022/4007048

Raisanthia P, Jaroensook P. Happiness of Nurses in Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry. Journal of Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry. Journal of Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry 2016;10(1):1-14. (in Thai).

Patrician PA, Bakerjian D, Billings R, Chenot T, Hooper V, Johnson CS, et al. Nurse well-being: A concept analysis. Nursing Outlook 2022;70(4):639-50.

Panyapinitnugoon C, Harabutra T. Selected Factors Related to Happiness of Nursing Lecturers. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health 2022;36(1):104-19. (in Thai).

Gurdogan EP, Uslusoy EC. The Relationship between Quality of Work Life and Happiness In Nurses: A Sample from Turkey. International Journal of Caring Sciences 2019;12(3):1364-71.

Mirfarhadi N, Moosavi S, Tabari R. Life satisfaction and its determinants: a survey on Iranian nurse’s population. Journal of Paramedical Sciences 2013;4(4):11-15.

Luekitinan W. The Casual Model of Work Happiness and Organizational Commitment. Panyapiwat Journal 2017;9(3):55-66. (in Thai).

Barua P, Tejativaddhana P. Impact of Application of Sufficiency Economy Philosophy on the Well-Being of Thai Population: A Systematic Review and Meta-Analysis of RelevantStudies. Journal of Population and Social Studies 2019;27(3):195-219. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24