การส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ ด้วยภูมิปัญญาพื้นถิ่น : กรณีศึกษา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

ธานี กล่อมใจ
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
สมศรี สัจจะสกุลรัตน์
ชลธิมา ปิ่นสกุล

บทคัดย่อ

บทนำ: การดูแลสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ มีการนำภูมิปัญญาพื้นถิ่นเข้ามาใช้ โดยจะมีความสอดคล้องกับบริบททางสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อและศาสนา ซึ่งบริบทเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มชนชาติพันธุ์เหล่านี้ ต้องเข้าใจในพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อก่อให้เกิดความไว้วางใจ ความเชื่อใจ และนำไปสู่การวางแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ ความเป็นอยู่ ตลอดจนวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละท้องที่


วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยภูมิปัญญาพื้นถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา


ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยใช้รูปแบบ Qualitative approach: Case study เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยภูมิปัญญาพื้นถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564


ผลการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลเป็นชนชาติพันธุ์เมี่ยน อาข่า มูเซอ ม้ง กะเหรี่ยงโปว์ ปกาเกอะญอ ละว้า และลัวะ ในเขตพื้นที่อำเภอแม่ใจ เชียงคำ ดอกคำใต้ และอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา พบรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ 5 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพหญิงระยะตั้งครรภ์ 2) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพหญิงหลังคลอด 3) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยแรกเกิด 4) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในวัยผู้ใหญ่ และ 5) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ


สรุปผล: การส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยภูมิปัญญาพื้นถิ่น เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ เป็นหนึ่งในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทำให้บุคคลได้รับการดูแลอย่างครอบคลุม และนำไปสู่สุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี


ข้อเสนอแนะ: บุคลากรสาธารณสุข ควรมีความเข้าใจในพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลกลุ่มนี้ เพื่อก่อให้เกิดความเชื่อใจ และนำไปสู่การวางแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับการใช้ภูมิปัญญาพื้นถิ่นในการดูแลสุขภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anurak Y. The process of health education and the development of health behaviors, stepping into the 2000s.1st ed.Bangkok: Sigma graphics company; 2000.(in Thai).

World Health O. World health statistics 2020: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Geneva: World Health Organization, 2020.

Budreviciute A, Damiati S, Sabir DK, et al. Management and prevention strategies for non-communicable Diseases (NCDs) and their risk factors. Frontiers in public health; 2020; 8:1-11. 574111.

Kelishadi R. Life-cycle approach for prevention of non communicable disease. In: Kelishadi R, ed. Primordial Prevention of Non Communicable Disease. Vol 1121. Springer International Publishing; 2019:1-6.

Royal Institute. Dictionary of sociology terms Royal Institute Edition.4nd ed.Bangkok: Royal Institute; 2014. (in Thai).

Hhdc dashboard. Information system to support health promotion and environmental health. Ethnic population by district in Phayao Province [Internet].2018 [cited 2021 May 7]. Available from: https://hhdclampang.anamai.moph.go.th:8080/hhdcdashboard/frontend/web/ethnics/default/ampur?cw=56

Phongsakchat P, Malai C, Noysipoom N, Jampated M. Health behaviors enhancing based on local wisdom. Journal of the royal thai army nurses.2019; 20: 44-53. (in Thai).

Becker MH, Maiman LA. Sociobehavioral determinants of compliance with health and medical care recommendations. Med Care. 1975 Jan;13(1):10-24.

Jinathum T, Koomnet K, Kanthawee P. A study of health behaviors and Diabetes mellitus (DM) protection among Karen Ethnic groups in Doi Luang district, Chiang Rai. Chiangrai medical journal.2018; 10: 179-92. (in Thai).

Van Manen M. Researching lived experience: Human Science for an Action Sensitive Pedagogy. Suny Press, 1990.

Lincoln YS, Guba EG. Criteria for Assessing Naturalistic Inquiries as Reports. 1988.

Mills IJ. A person-centred approach to holistic assessment. Prim Dent J. 2017;6(3):18-23.