ประสิทธิผลของโปรแกรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานที่ได้รับโดยรุ่นพี่ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • วิดาพร ทับทิมศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สมฤดี ศิลาพัชรนันท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จินตนา รังษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โปรแกรม, การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน , รุ่นพี่, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะหมดสติจากหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น เป็นภาวะวิกฤติที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือสมองตายได้  

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานที่ได้รับโดยพี่สอนน้องของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research)  ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (two group pretest-posttest design) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยคัดเลือกนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ที่ไม่เคยได้รับอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ที่มีคุณลักษณะไม่แตกต่างกัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานจากรุ่นพี่ ซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 15 คน ที่ผ่านการอบรมเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโปรแกรม ได้แก่ การบรรยายแบบมีส่วนร่วม การสาธิตและสาธิตย้อนกลับ และการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบประเมินทักษะและขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที (Paired t-test และ Independent t-test)

ผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาลหลังการทดลองทั้งกลุ่มทดลองและควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (p >.05) สำหรับคะแนนเฉลี่ยทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง (gif.latex?\bar{x}=29.83, SD=0.65)  สูงกว่ากลุ่มควบคุม (gif.latex?\bar{x}=20.30 SD=2.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p <.001)

 สรุปผล: โปรแกรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานที่ได้รับโดยพี่สอนน้อง สามารถพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลให้มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น

ข้อเสนอแนะ: ควรส่งเสริมการนำโปรแกรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานนี้ไปใช้อย่างต่อเนื่องกับนักศึกษาพยาบาลในรุ่นอื่นๆ ต่อไป

References

National Institute for Emergency Medicine. Situations and Trends in Health and Emergency Medicine. (Global and Thailand). [internet]. 2022 [cited 2023 Mar 31]; 2–32. Available from: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/414764_20220208161448.pdf.

Merchant RM, Topjian AA, Panchal AR, Cheng A, Aziz K, Berg KM, et al. Part 1: Executive Summary 2020 American Heart Association Guidelines for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care, [internet]. 2020 [cited 2023 Jan 06]; S337–S357. Available from: https://cpr.heart.org/-/media/cpr-files/cpr-guidelines- files/highlights/hghlghts_2020 ecc guidelines_thai.pdf.

Relief and Community Health Bureau, The Thai Red Cross Society and National Institute for Emergency Medicine.Emergency. First Aid and Basic CPR. 1sted. Bangkok: New Thammada Press; 2020. (in Thai).

Partiprajak S. Relationship between Knowledge, Perceived Self-efficacy in Basic Life Support (BLS) and Chest Compression Performance among Undergraduate Nursing Students. Songklanagarind Journal Nursing 2015;35(1):119-34. (in Thai).

Panich V. 21st Century Skills. Bangkok: Tathakod. 2012; 16-1. (in Thai).

Ouppinjai S, Sukprapaporn T, Yaviraj P, Tunkaew S, Ariya S.The Model of Using the Coaching and Mentoring System in for Induction Program of Teachers in School Under the Office of Primary Education Area, Chiang Rai province. Buabundit Journal of Education Administration.2019;19(4):1-13. (in Thai).

Anderson LW, David K. (Ed.). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: a revision of Bloom's taxonomy of educational objectives. [internet].2020 [cited 2022 Sep 25]; Available from: https://cft.vanderbilt.edu/guides-sub-pages/blooms-taxonomy/

Chaisongmuang P, Pearkao C. Effects of First Aid to Sudden Cardiac Arrest Program for High-school Students in Northeast Thailand. Nursing Journal of The Ministry of Public Health. 2018;28(2):118-32. (in Thai)

Ninwatcharamanee C, Dhabdhimsri V, Somboon P. Effects of Providing Knowledge and Skills for Cardiopulmonary Resuscitation of Nursing Students, Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Journal Health and Nursing Reasearch 2021;37(1):180-91. (in Thai).

Sriklo M, Yujaiyen M, Sriamonruttanakul T. The Effects of an Education Program Promoting Basic Cardiopulmonary Life Support on Knowledge and Skills of Basic Cardiopulmonary Life Support of Middle School Students. Journal Health and Nursing Reasearch 2019;35(1):239-51. (in Thai).

Tawata A, Lertwittayapradit A, Akkawanitcha C, Sumransart T, Vajirasirodom R. Self-directed learning (SDL) by adopting business plan to develop SDL as personality characteristics. [thesis]. Silpakorn University. 2014. (in Thai).

Baunoo W. Effectiveness of Telephone Cardiopulmonary Resuscitation Program for Out of Hospital Cardiac Arrest of Senior High School Students. Journal of Professional Routine to Research 2019;(6):37-47. (in Thai).

Buathongjun J, Teerawatskul S, Suttineam U. Effect of Basic Life Support Program on Basic Life Support Competency in the Supporting Staff of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal. 2018;10(1):69-82. (in Thai).

Srisuk P, Apiratwarakul K, Ienghong K, Rattanaseeha W, Kotruchin P, Buranasakda M. Effectiveness of Basic Life Support and Automated External Defibrillator Short-course Training in Undergraduate Students. Srinagarind Medical Journal. 2017;32(4):332-7. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30