ผลของโปรแกรมพหุองค์ประกอบแบบบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
คำสำคัญ:
การดูแลตนเอง , ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ , เทคโนโลยีสารสนเทศบทคัดย่อ
บทนํา: ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นตามอายุ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสมอง หัวใจ ไต และตา การช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตได้จึงมีความสำคัญ
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพหุองค์ประกอบแบบบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน กลุ่มควบคุม 33 คน ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม โดยการใช้แอปพลิเคชันไลน์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรู้ในการดูแลตนเอง แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบบันทึกค่าความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัย: หลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และเพิ่มขึ้นแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลดลง แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
สรุปผล: โปรแกรมพหุองค์ประกอบแบบบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้มีความรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น พฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น และระดับความดันโลหิตลดลงได้
ข้อเสนอแนะ: ควรนำโปรแกรมพหุองค์ประกอบแบบบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปใช้ในผู้สูงอายุภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพื่อให้สามารถควบคุมความดันโลหิตได้อย่างต่อเนื่อง
Downloads
References
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. Situation of the Thai elderly 2019. Nakorn Pathom; 2020. (in Thai).
Aekplakorn W. The National Health Examination Survey in Thailand 2019-2020. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2021. (in Thai).
The number and rate of death from NCD2559-2563 [Internet]. 2020 [cited 30 July 2022]. Available from: http://www.thaincd.com/.
Unger T, Borghi C, Charchar F, Khan NA, Poulter NR, Prabhakaran D, et al. International Society of Hypertension Global Hypertension Practice Guidelines. Hypertension. 2020;75(6):1334-57.
Thai Hypertension Society. 2019 Thai guidelines on the treatment of hypertension. Chiang Mai: Trickthink; 2020. (in Thai).
Hanjaroenpipat P. Factors effecting to blood pressure level controlling among hypertension patients at Sirattana Hospital, Sisaket Province. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals. 2020;35(3):651-63.
Thungkam S, Danyuthasilpe C, Siripornpibul T. Factors predicting behaviors to control and prevent essential hypertension among patients with uncontrolled blood pressure in Phrae Province. Journal of Nursing and Health Sciences. 2019;13(3):1-15. (in Thai).
Hanjaroenpipat P. Factors effecting to blood pressure level controlling among hypertension patients at Sirattana Hospital, Srisaket Province. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals. 2020;35(3):651-63. (in Thai).
Hongsila O, Arpanantikul M, Malathum P. Effects of a self-care promoting programme on knowledge, self-care behaviours, and blood pressure in persons with essential hypertension. Thai Journal of Nursing Council. 2018;33(2):110-30. (in Thai).
Phetcharat K, Ponglanga S, Kitisri C. Effects of supportive and educative nursing system program on self-care behaviors and blood pressure control among hypertensive patients. Nursing Journal Volume. 2018;45(1):37-49. (in Thai).
Pimlak R, Chutchavarn W, Amporn J. Utilization of Orem’s self care theory for caring in prevention of foot ulcer among diabetic patients. EAU Heritage Journal. 2018;12(3):89-100. (in Thai).
Silapavitayatorn B, Chitpakdee B. The use of health information technology in nursing for patient safety. Journal of Nursing and Health Care. 2020;38(2):6-14. (in Thai).
Electronic Transactions Development Agency, Ministry of Digital Economy and Society. Thailand Internet user behavior 2020. Available from: www.edta.or.th. (in Thai).
Tirakoat S, Polnigongit W. Internet usage behaviors, literacy, and attitude towards utilization of wellness content on the internet among Thai elderly. Journal of Nursing and Health Care. 2018;36(1):72-80. (in Thai).
Electronic Transactions Development Agency. Thailand Internet User Profile 2017. Bangkok: EDTA; 2017. (in Thai).
Thongkao S, Kimsungnoen N, Namjuntra R. Effects of educative-supportive program on self-care behaviors and blood pressure levels among young adult patients with uncontrolled hypertension. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing. 2021;32(2):73-88. (in Thai).
Chaodamrongsakul C. Development of the self-care promoting model for diabetes mellitus patients at Sida Hospital. Regional Health Promotion Center 9 Journal. 2020;14(35):314-29. (in Thai).
Makkaew A, Moolsart S, Boonreungset M. Effectiveness of a motivational enhancing program via electronic communication for hypertension prevention in high-risk persons. Journal of Public Health Nursing. 2018;32(3):133-50. (in Thai).
Grillo A, Salvi L, Coruzzi P, Salvi P, Parati G. Sodium intake and hypertension. Nutrients. 2019;11(9):1970.
Sinsap N, Jankra J, Jaiman B. Hypertension in elderly: Silence killer should be aware. Journal of Phrapokklao Nursing College. 2017;28(1):100-11. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น